การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และพระพุทธศาสนา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 108
หน้าที่ 108 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่กัปเกิดขึ้น โดยมีการเปรียบเทียบความรู้ทางวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา ว่ามนุษย์ไม่เกิดมาจากสัตว์เดรัจฉานตามที่นักวิทยาศาสตร์คิด และมีการอ้างอิงถึงความเห็นของอัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่ชี้ให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เข้ากับความต้องการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ โดยเฉพาะการตอบคำถามเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของจักรวาลและโลกมนุษย์ ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้เน้นที่การเกิดของสรรพสิ่งเพราะเห็นว่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดของพระพุทธศาสนา
-ความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา
-วิวัฒนาการของมนุษย์และจักรวาล
-ความคิดเห็นของอัลเบิร์ต ไอสไตน์ต่อศาสนาพุทธ
-การตอบคำถามเกี่ยวกับการเกิดของจักรวาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สรุป การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตั้งแต่สมัยที่กัปบังเกิดขึ้น พรหมลงมากินง้วนดินจนกลายมาเป็นมนุษย์ ในยุคต้นกัป จนกลายสภาพความเป็นอยู่ของตนมาเป็นเช่นปัจจุบันนี้ ล้วนมีเหตุอันเกิดขึ้นมาจากจิตใจของ มนุษย์เอง แม้ว่าวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากอะไร แต่พระพุทธศาสนา ก็มีคำสอนที่บอกเอาไว้ว่า มนุษย์นั้นมิได้เกิดมาจากสัตว์เดรัจฉานอย่างที่นักวิทยาศาสตร์คิดกัน ความรู้ในวิทยาศาสตร์ หรือศาสตร์ในแขนงต่างๆ เมื่อนำมาเปรียบกับความรู้ในพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นเพียงแค่ก้อนเมฆที่ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้าเท่านั้น เพราะความรู้ในพระพุทธศาสนาครอบคลุมความรู้ ทั้งหมด แม้แต่อัลเบิร์ต ไอสไตน์ นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพ ยังแสดงความเห็น ต่อศาสนาพุทธว่า “ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาแห่งสากลจักรวาล เป็นศาสนาที่ข้ามพ้นความเชื่อที่เป็นตัวเป็น ตนของพระเจ้า และหลีกเลี่ยงความเชื่อที่ศรัทธาแบบหัวรุนแรงโดยไม่พิสูจน์ และเรื่องความสัมพันธ์ของ พระเจ้ากับโลกมนุษย์ แต่จะเป็นศาสนาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ โดยมีพื้นฐานมา จากความรู้สึกทางศาสนาที่มาจากประสบการณ์ที่ได้ประสบกับสรรพสิ่ง ทั้งจากธรรมชาติและจิตวิญญาณ ด้วยนัยความหมายที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งพระพุทธศาสนาสามารถให้คำตอบในสิ่งที่พรรณนามา ดังกล่าว ถ้าจะมีศาสนาใดที่รองรับได้กับความต้องการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศาสนานั้นก็คือ พระพุทธศาสนา” 1 การที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องถึงการเกิดขึ้นของจักรวาล โลกมนุษย์ ตลอดจนสรรพสิ่งนี้ เป็นเพราะ เพื่อแสดงการเกิดขึ้นของพราหมณ์ และวรรณะต่างๆ ให้สามเณรวาเสฏฐะและสามเณรภารทวาชะ เกิดความอาจหาญร่าเริงภาคภูมิใจ ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาดังที่กล่าวในข้างต้น มิได้มีพระประสงค์ ที่จะแสดงการเกิดของสรรพสิ่งแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่า ความรู้เรื่องโลกไม่ได้ทำให้ผู้ใดล่วงพ้น จากทุกข์เลย ดังนั้น เมื่อมีผู้ถามพระพุทธองค์ก็มิได้ทรงตอบ ซึ่งบางครั้งถึงกับมีพระภิกษุรูปหนึ่งมาขู่ถามว่า ถ้า พระองค์ไม่ทรงตอบว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร จะลาสิกขา พระองค์ก็ไม่ทรงตอบ เพราะทรงเห็นว่าไม่เกิด ประโยชน์กับภิกษุนั้นแต่อย่างไรเพราะการที่พระพุทธองค์ทรงสร้างบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 "The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend a personal god and avoid dogmas and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based a religious sense arising from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that would cope with modern scientific needs, it would be Buddhism." (May 19th, 1939, Albert Einstein's speech on "Science and Religion" in Princeton, New Jersey, U.S.A.) 98 DOU บทที่ 4 การกำเนิด จั ก ร ว า ล โ ล ก แ ล ะ ม นุ ษ ย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More