ข้อความต้นฉบับในหน้า
ท่านไม่ได้ไปร่วมงานบุญและทำบุญที่วัดอีกเลย
เปิดร้านขายอาหารอยู่เพียงไม่กี่ปี ท่านก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง ก่อนตายท่านเห็นกรรมนิมิตเป็น
ภาพสัตว์ต่างๆ ที่ถูกท่านฆ่ามากมาย จึงทำให้ใจเศร้าหมอง มีคตินิมิตดำมืด ตายแล้วจึงถูกดูดไปบังเกิดเป็น
สัตว์นรกในขุมบริวารของมหานรกขุมที่ 1 ซึ่งในขุมนี้ สัตว์นรกจะมีลักษณะแปลกประหลาดต่างๆ คือ
ตัวเป็นคนหัวเป็นกุ้ง เป็นปู เป็นปลา เดินเรียงคิวมากมาย มีนายนิรยบาลเตรียมเขียงเหล็กร้อน พร้อมด้วย
ปังตอเหล็กร้อนขนาดใหญ่ไว้คอยสับสัตว์นรก
เมื่อสับสัตว์นรกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้ว จะรวมไว้ในแหเหล็กร้อน โดยมีนายนิรยบาลตนหนึ่งทำ
หน้าที่รวบรวมหัวสัตว์นรกที่เป็นกุ้ง ปู ปลา เมื่อเต็มแหก็จะลากไปกองไว้ จากนั้นจะมีลมชนิดหนึ่งพัดมา
ทำให้สัตว์นรกฟื้นขึ้น แล้วก็ถูกลากตัวไปเข้าคิวรอขึ้นเขียงอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้ด้วยความเจ็บปวดทุกข์
ทรมานมาก
เมื่อท่านลงไปเกิดเป็นสัตว์นรกในขุมนี้ จะมีหัวเป็นปลาตัวเป็นคน ขณะรอคิวเพื่อจะไปที่เขียงนั้น
ได้ผ่านเตียงๆ หนึ่ง ซึ่งนายนิรยบาลกำลังจับตรึงสัตว์นรกไว้ เอาตะปูขนาดใหญ่ปักกลางอกสัตว์นรกนั้น
แล้วเอาค้อนตี ด้วยบุญบันดาล เมื่อท่านได้ยินเสียงตอกตะปู ทำให้รู้สึกคุ้นหู นึกถึงเสียงตอกเสาเข็ม
สร้างมหาธรรมกายเจดีย์ได้ จึงนึกถึงบุญที่ตนทำได้ แสงสว่างก็ปรากฏขึ้น บุญจึงดึงดูดบุญทุกบุญ
มารวมกันและฉุดท่านไปสู่เทวโลกทันที กายสัตว์นรกดับวูบไปเกิดเป็นกายทิพย์ในเทวโลก เป็นเจ้าของ
วิมานขนาดเล็กหลังหนึ่ง บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
สรุป
จากกรณีตัวอย่างที่นำมาเสนอในที่นี้เป็นเพียงบางส่วนของกรณีตัวอย่างที่นำเสนอในรายการ
ฝันในฝัน จะเห็นว่าด้วยวิบากกรรมที่แต่ละคนทำไว้แตกต่างกันนานาประการ จึงส่งผลให้ได้รับผลแตกต่าง
กันไป สุดแท้แต่ว่ากรรมใดจะส่งผลก่อนหลัง ซึ่งนั่นเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของการเดินทางเวียนว่าย
ตายเกิดในสังสารวัฏ เพราะในความเป็นจริงนั้น ทุกชีวิตไม่ว่าจะใครก็ตาม ทั้งที่เป็นมนุษย์อย่างเราๆ
หรือที่เกิดในภพภูมิต่างๆ นั้น เคยเกิดแล้วตาย เวียนว่ายในภพภูมิต่างๆ มายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน
จนไม่สามารถสืบสาวหาเบื้องต้นและเบื้องปลายของชีวิตได้
เกี่ยวกับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่
พระภิกษุในครั้งพุทธกาลหลายคราวด้วยกัน ปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งจะได้นำมากล่าวในที่นี้ ครั้งหนึ่ง
บทที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า ก า ร เ วี ย น ว่ า ย ต า ย เ กิ ด ข อ ง สั ต ว โ ล ก DOU 153