ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑. พระภิกษุต้องตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัย
อย่างเคร่งครัด
๒. พระภิกษุต้องตั้งใจแนะนำสั่งสอนประชาชนให้รู้ว่าอะไร
ผิดถูก ดี-ชั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควรทำอย่างไร จนกระทั่งเขาเลิก
ทำความชั่ว ตั้งใจทำความดี กลั่นจิตใจให้ผ่องใส เป็นคนดีของสังคม
พระภิกษุสงฆ์จึงเป็นคนแรกที่ต้องลงมาแก้ไขปัญหาความ
หวาดระแวงนี้ด้วยตัวเอง มิเช่นนั้นแล้ว พระเราก็จะต้องตกเป็นที่
ระแวงของชาวบ้านชาวเมืองว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอมตลอดไป
วิธีแก้ไขทำอย่างไร ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นหลัก
การแก้ปัญหานี้จากคำสอนตรงที่ว่า คนจะดีได้นั้น ต้องคบคนดีเป็น
กัลยาณมิตร และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำความดี
ด้วยหลักการสองข้อนี้ พระภิกษุจะต้องกลับมาถามตัวเองว่า
๑.
เราทำหน้าที่อบรมบ่มนิสัยให้คนเป็นคนดีหรือไม่?
๒. เราบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดให้เหมาะสมต่อการทำ
ความดีหรือไม่?
แน่นอน ถ้าพระเราทำหน้าที่ไม่ครบ ย่อมเกิดปัญหาแน่ แต่
อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้แล้วว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ก็ยอมรับความจริง
และรีบลงมือแก้ไขให้ดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหานี้ จะต้องอาศัยความร่วมแรง
ร่วมใจของชาวพุทธจึงจะรวดเร็ว หากทําโดยเฉพาะลำพังคนใดคนหนึ่ง
วัดใดวัดหนึ่งก็ยากจะเห็นผลในเวลาอันสั้น เพราะฉะนั้น ปัญหานี้
ชาวพุทธจะต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำตามพุทธวิธี ซึ่งพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ในมงคลชีวิตที่ ๔ นี้เอง
ปัญหาดังกล่าวแม้ว่าจะยาก แต่ถ้าชาวพุทธช่วยกัน มันก็สามารถ
แก้ไขได้อย่างไม่เหลือบ่ากว่าแรงแน่นอน และเราอาจเรียกพุทธวิธีแก้
ปัญหาครั้งนี้ว่า “ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด”
สูตรสำเร็จการบริหารวัด
๗