หลักการวางผังวัด ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 13
หน้าที่ 13 / 96

สรุปเนื้อหา

การวางผังของวัดมีความสำคัญในการทำให้พื้นที่ใช้สอยเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยควรแบ่งออกเป็น 3 เขตหลัก ได้แก่ พุทธาวาส เขตโดยมีโบสถ์เป็นศูนย์กลาง ธัมมาวาส เขตการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ธรรมะ และสังฆาวาส เขตที่พระภิกษุอาศัยอยู่ การวางผังนี้มีข้อพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงรบกวนที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติธรรมและความสงบของพื้นที่.

หัวข้อประเด็น

-หลักการวางผังวัด
-พุทธาวาส
-ธัมมาวาส
-สังฆาวาส
-การจัดการเสียงรบกวน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักการวางผัง สำหรับเรื่องการวางผังของวัดนั้น ควรแบ่งให้ได้เป็น ๓ เขต ใหญ่ด้วยกัน ๑) พุทธาวาส คือ เขตที่มีโบสถ์เป็นแกนกลาง โดยถือปฏิบัติเหมือนอย่างกับ ว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในเขตนี้ กำหนดแยกออกมาอีก ส่วนหนึ่งต่างหาก อย่าให้ไปปนกับส่วนอื่น ๒) ธัมมาวาส คือ บริเวณที่จะเล่าเรียนศึกษาธรรมะ เช่น บริเวณที่จะใช้เป็น โรงเรียนบาลี-นักธรรม แม้ที่สุดจะเป็นศาลาสำหรับสอนธรรมะให้แก่ สาธุชน ไม่ว่าจะมีกี่หลังก็ตาม ก็ควรจัดให้อยู่ในเขตนี้ และต้องสร้าง ให้ลักษณะอาคารดูมีระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งต้องระวังอย่าให้เสียงใน แต่ละหลังดังไปรบกวนกันเอง ระวังอย่าให้เสียงดังไปรบกวนในเขต พุทธาวาส ถ้าไม่ระวังเดี๋ยวจะเกิดภาวะพื้นที่ใช้งานอื่นๆ ของวัดเป็น อัมพาตทั้งวัน เช่น ถ้าหากวางผังให้โบสถ์กับโรงเรียนปริยัติใกล้กัน ถ้าวันไหนมีการบวชนาค สถานที่บริเวณโบสถ์ก็จะมีเสียงอึกทึก ครึกโครมจนกระทั่งอาคารหลังอื่นทำอะไรไม่ได้ จะมีการเทศน์สอน ในเขตธัมมาวาสก็ทำไม่ได้ เพราะว่าเสียงกลองแห่นาค เซิ้งบ้อง กลองยาวลั่นไปไหมด ทำให้ทำงานไม่สะดวก เรียกว่าวันนั้นวัดเป็น อัมพาตทั้งวัน ๓) สังฆาวาส คือ เขตที่พระภิกษุอยู่ ต้องแยกออกมาให้ชัดเจน ในเรื่องของสังฆาวาสนี้มีข้อคิดของการสืบทอดอายุพระพุทธ หลักการวางผัง ๑๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More