การหาแบบเรียนธรรมะที่ดี ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 70
หน้าที่ 70 / 96

สรุปเนื้อหา

ในวงการสงฆ์มีหลักสูตรการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น หนังสือนวโกวาท แต่อาจไม่สามารถขยายความได้ลึกซึ้งเท่าที่ควร ทำให้ผู้อ่านต้องค้นหาหนังสือเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ โดยเฉพาะหนังสือที่ชื่อว่า “แนวสอนธรรมตามหลักสูตรนักธรรมตรี” และ “คำบรรยายพุทธศาสตร์ ฉบับฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ซึ่งเขียนโดย พ.อ. ปิ่น มุทุกันต์ ที่มีการอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาในธรรมะ
-หนังสือแนะนำ
-ความเข้าใจในหลักธรรม
-การใช้งานธรรมะในชีวิตประจำวัน
-การเรียนการสอนพระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๖๘ ข้อคิดเรื่องการหาแบบเรียนธรรมะที่ดี วงการสงฆ์มีหลักสูตร มีแบบเรียนอยู่แล้ว เช่นที่เราเห็นอยู่ก็ คือ หนังสือนวโกวาท เป็นหนังสือที่รวบรวมหัวข้อธรรมเอาไว้ แต่ว่า ไม่ได้ขยายความหัวข้อธรรมเอาไว้ให้ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น บางทีเราอ่าน แล้วหลายๆ เรื่องก็ยังไม่เข้าใจ ต้องไปหาหนังสือมาอ่านขยายความ แต่ว่าหนังสือที่มาขยายความนั้น ก็ออกมาเพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้น การจะเอาธรรมะไปใช้ในแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงยังทำได้จำกัด แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ในบรรดาหนังสือขยายความ ยังมีอยู่เล่ม หนึ่งที่หลวงพ่ออยากจะแนะนำ ไม่ว่าใครเป็น พระเก่า พระใหม่ สามเณรที่สอบได้นักธรรมตรี ต้องลองอ่านดูบ้าง โท เอก หรือเรียนบาลีมากี่ประโยคแล้วก็ตาม เพราะจะได้รู้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราสอนอะไร? เขียนอ่านจนจบปริญาตรี โท เอก มาแล้วก็ตาม รวมทั้งเด็กวัด อุบาสก อุบาสิกาที่ร่ำเรียน ช่วยหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่าน ชื่อหนังสือว่า “แนวสอนธรรมตาม หลักสูตรนักธรรมตรี” เป็นของ พ.อ. ปิ่น มุทุกันต์ ซึ่งเอานวโกวาท มาขยายความได้ละเอียดถี่ถ้วน และเหมาะกับทุกเพศทุกวัยดีเหลือเกิน อีกเล่มหนึ่งเป็นผลงานของ พ.อ. ปิ่น มุทุกันต์ เช่นกัน ชื่อว่า “คำบรรยายพุทธศาสตร์ ฉบับฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” คนเขียน นั้นถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ว่าได้ฝากผลงานเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านได้บรรยายทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย มีผู้เรียนกันเยอะ สอนกันทุกวัน แล้วท่านก็รวมเล่มเป็นหนังสือ และเป็นชุดที่ในหลวง โปรดพระราชทานสรรเสริญว่าดีมาก เพราะเหมาะกับทั้งพระภิกษุ สามเณร ประชาชน ใช้คำง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ อ่านเข้าใจง่าย ธรรมะเป็นที่สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More