การน้อมนึกและภาวนาในศูนย์กลางกาย ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 90
หน้าที่ 90 / 96

สรุปเนื้อหา

การนึกถึงศูนย์กลางกายสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งในขณะนั่ง นอน ยืน หรือทำภารกิจต่างๆ โดยการน้อมนึกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดดวงนิมิตที่ชัดเจนและมีสติอยู่กับจุดศูนย์กลาง จนเกิดดวงธรรมอันนำไปสู่การเข้าถึง มรรคผลนิพพาน ทางที่แนะนำคือ ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่เร่งรีบ เพื่อให้ใจกลับสู่ความเป็นกลาง ข้อมูลเพิ่มเติมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การน้อมนึก
-การภาวนา
-ศูนย์กลางกาย
-ดวงนิมิต
-ดวงธรรม
-มรรคผลนิพพาน
-การฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๘๘ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติ ว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่ง เป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้ วางอารมณ์สบายๆกับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่ง ของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไปก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือ เมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่นที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆน้อม นิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิต หยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของ ดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆอีกดวงหนึ่ง ช้อน อยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆตรง กลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์ และเกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรคอันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรค ผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตสามารถทําได้ในทุกแห่ง ทุกที่ ทุก อิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะทำภารกิจใดๆ ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำ อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น ซึ่ง จะเป็นการป้องกันมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจ ต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ “ดวงปฐมมรรค” ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงอยู่ที่ ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ สมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More