การทำงานร่วมกันในวัดและภาระของเจ้าอาวาส ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 48
หน้าที่ 48 / 96

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในวัดและบทบาทของเจ้าอาวาสที่ต้องแบกภาระจากทั้งตัวเองและหมู่คณะ ความสำคัญของการแบ่งงานให้พระลูกวัดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายใน วัดและความรับผิดชอบในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่มีการจัดการที่ดี อาจนำไปสู่ปัญหาแตกแยกได้ และต้องมีการเตรียมพร้อมในการสอนงานเพื่อส่งต่อภาระอย่างเหมาะสมให้กับพระที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-การทำงานร่วมกัน
-เจ้าอาวาสและการบริหาร
-การแบ่งงานในวัด
-การแก้ปัญหาในกลุ่มพระสงฆ์
-การสร้างความเข้าใจในทีมงาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๖ พระประจำกับเจ้าอาวาส และถ้าลงมือทำงานเมื่อไร สิ่งที่จะต้องเจอก คือ ทีมงานทุกคนมีความตั้งใจอยากให้งานออกมาดีเหมือนกัน แต่ บางครั้งความเห็นไม่เหมือนกัน ถ้าไปเจอปัญหาอย่างนี้เข้า เราก็ต้องใจกว้างกันเข้าไว้ พูดกัน ด้วยเหตุด้วยผลทั้งข้อดีข้อเสียเสร็จแล้ว ก็สรุปเป็นมติที่ประชุมออกมา แล้วก็ให้ดำเนินการตามมติที่ประชุม แต่เรื่องนี้ถ้าฝึกการทำงานร่วม กันมาไม่ดี มีโอกาสทําให้เกิดปัญหาแตกกลุ่มกันรุนแรงในวัดได้ ปัญหาหนักก็จะตกเป็นของเจ้าอาวาส พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านแปลคำว่า “สมภาร ว่า “ผู้สะสมภาระ” คือ แบกขันธ์ ๕ ของตัวเองก็ว่าหนักแล้ว ยัง ต้องแบกขันธ์ ๕ ของคนอื่น หรือปกครองคนอื่นเข้าไปด้วย แต่เมื่อ หมู่คณะเขายกย่อง เขาแต่งตั้งมอบหมายให้เป็นสมภาร ก็ต้องอดทน ที่จะแบกภาระของหมู่คณะเอาไว้ แล้วถ้าเจ้าอาวาสเป็นนักบริหารมีฝีมือแล้วละก็ พระประจำ หรือพระที่มีอายุหนึ่งพรรษาขึ้นไปแล้ว เจ้าอาวาสควรจะต้องแบ่งงาน แบ่งการออกไปให้เรียบร้อย แบ่งให้พระลูกวัดช่วยกันรับผิดชอบ หมู่คณะ ถ้าไม่แบ่งภาระรับผิดชอบออกไป ชาตินี้จะพูดได้คำเดียวว่า ไม่มีใครช่วยงานเราทำเลย ไม่มีใครเห็นใจเราเลย สาเหตุก็คือเจ้าอาวาส ไม่แบ่งงาน บางคนอาจจะแย้งว่า “ได้แบ่งงานให้ไปแล้ว แต่เขาไม่ยอมทำ” ถ้าอย่างนั้นก็ต้องบอกต่อว่า “เป็นเพราะไม่สอนให้ดีก่อนแล้ว ค่อยแบ่งงานหรือเปล่า หรือว่าสอนงานให้แล้ว แต่เขาไม่เอา” เรื่องนี้ต้องแบ่งประเด็นคิด ๒ ประเด็น ประเด็นที่ ๑ เขาไม่รักดีจริงๆ เพราะเราสอนเท่าไร เขาก็ไม่เอา ความผิดก็ตกอยู่กับเจ้าอาวาสอีกนั่นแหละว่า ไปรับเข้ามา บุคคลเป็น สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More