การสร้างและจัดการกุฏิในวัด ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 16
หน้าที่ 16 / 96

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวทางในการก่อสร้างและจัดการกุฏิในวัด โดยมุ่งเน้นให้มีการวางผังที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์เพื่อการพักอาศัยและปฏิบัติธรรม การมีพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งควรพิจารณาอาคารแต่ละหลังให้มีความสัมพันธ์กัน ไม่ควรก่อสร้างหากอาคารนั้นยังใช้งานได้อยู่ หากอาคารทรุดโทรมหรือหมดอายุการใช้งานเท่านั้นจึงควรปรับย้าย ทั้งนี้ต้องมีการวางแผนกันให้ดีและร่วมมือกันระหว่างวัดเพื่อให้การจัดการอาคารต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่สร้างปัญหาในอนาคต ฯลฯ

หัวข้อประเด็น

-การสร้างกุฏิ
-การจัดการพื้นที่ในวัด
-การวางแผนพื้นที่
-การพัฒนาชุมชนวัด
-การดูแลรักษาอาคาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๔ เดิมที่วัดได้สร้างเอาไว้นั้น เป็นกระจุกๆ อยู่แล้ว มันเหมาะกับ ท้องถิ่นในยุคก่อน จะซื้อเข้าไปได้อย่างไร เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ สำหรับกุฏิที่เคยเป็นกระจุกอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้เป็นที่ฉัน หรือจะทำอะไรก็ใช้ที่นี่ เราก็ปล่อยเอาไว้ก่อน อย่าไปรื้อ แต่ว่าในการก่อสร้างกุฏิครั้งต่อไป ถ้าพอมีพื้นที่เหลือบ้าง ก็ค่อยขยับออกมาให้อยู่ในเขตสังฆาวาสที่เราจะกันเอาไว้สำหรับให้ พระใช้พักอาศัย เป็นที่ปฏิบัติธรรม ส่วนกุฏิหลังเก่าก็ใช้กันไปก่อน เราก็ค่อยๆ จัดพื้นที่ ปรับความเป็นอยู่ให้เป็นสัดส่วนที่เหมาะแก่พระ ใช้ปฏิบัติธรรมต่อไป กุฏิหลังไหนยังใช้ได้อยู่ อย่าไปซื้อ เดี๋ยวเกิดเรื่อง ยกเว้นว่า มันทรุดโทรม ใช้งานไม่ไหวจริงๆ นั่นค่อยไปปรับไปย้าย ไม่มีใครว่า เพราะมันหมดอายุการใช้งาน เรื่องนี้ทั้งวัดต้องช่วยกันคิด อย่าคิดคนเดียว ต้องช่วยกัน วางผังให้ดีว่า อาคารแต่ละหลังในแต่ละเขตจะทำอะไร ชั้นบนจะเป็น ห้องสมุด ชั้นล่างจะใช้เรียนบาลี อาคารหลังนี้จะใช้เป็นหอฉัน หลัง นั้นจะใช้เป็นศาลาตั้งศพ ฯลฯ ต้องช่วยกันคิดให้ดีว่าอาคารแต่ละ หลังมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ถ้าไม่วางตรงนี้ให้ดี ถ้าวางผิดไป เดี๋ยวอาคารอื่นๆ จะเป็นอัมพาตหมด ใช้ทำงานไม่ได้ อาวาสเป็นที่สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More