การสร้างความสามัคคีในวัดและองค์กร ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 86
หน้าที่ 86 / 96

สรุปเนื้อหา

การสร้างความสามัคคีในวัดนั้นจำเป็นต้องมีการอบรมและทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำวัตรและการนั่งสมาธิ เพื่อให้เกิดศีลเสมอกันและเสริมสร้างจิตใจที่เป็นหนึ่งเดียว โดยยังมีการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการปกครอง ทั้งในวัดและในครอบครัวทำให้สมาชิกสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการอบรมในวัด
- วินัยและความสามัคคี
- การใช้ธรรมะในการปกครอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๘๔ เสขิยวัตรมาอย่างเต็มที่ ถ้าไม่ฝึกมารยาท เดี๋ยวก็แตกกัน เช่น ไม่ ต้องอะไรมาก ถ้าจะทำให้หมู่คณะแตกกัน ก็แค่กินข้าวไม่พร้อมกัน เดี๋ยวก็แตกกัน กวาดวัดไม่พร้อมกัน เดี๋ยวก็แตกกัน ถ้าจะพูดให้ ใกล้ตัวมามากกว่านั้น ถ้าคนหนึ่งกินข้าวแล้วเสียงเคี้ยวดังจับ ๆ ๆ ๆ คนอื่นรู้สึกเหมือนกินข้าวกับหมู แค่นี้ก็แตกกันแล้ว สําหรับเรื่องวินัยเสมอกันนี้ ผู้ที่เป็นเจ้าอาวาส หรือผู้ที่เป็น นักบริหารควรทำอย่างไร คำตอบคือ เว้นจากการอบรมทุกเช้า วันละ ๑๐ นาที แล้ว ไม่มีทางแก้อื่นเลย เพราะฉะนั้นเมื่อไรวัดไหนไม่ได้ทำวัตรเย็นร่วมกัน ทำวัตรเสร็จแล้วไม่ได้อบรม ไม่ได้นั่งสมาธิร่วมกัน ศีลจะไม่เสมอกัน ทิฏฐิจะไม่เสมอกัน แล้วการปกครองของวัด แม้ว่าจะมีหลักการดีอย่างไร จะล้มเหลวตลอดหมด ที่นั่นจะไปไม่รอด แต่ถ้าวัดไหนก็ตาม มีความพร้อมเพรียงกันทำวัตร พร้อมเพรียง กันรับการอบรม พร้อมเพรียงกันนั่งภาวนา ยิ่งมีการอบรมถี่เท่าไร การปกครองที่นั้นจะราบรื่น ความสามัคคีจะมากขึ้น แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่า ถ้ามีการอบรมมากเท่าไร ตัวของผู้อบรม จะถูกบีบจนกระทั่งตัวกิ่วเลย เพราะเราไปที่ไปว่าใครเอาไว้เท่าไร นั่น เท่ากับ บังคับตัวเราให้มีสติในการเคี่ยวเข็ญตัวเองมากขึ้นไปอีกหลาย เท่า แต่ว่าถ้าทำอย่างนั้นแล้ว หมู่คณะไปได้สบายๆ อยู่ร่วมกันด้วย ความสุข เราก็ต้องยอม และนี่เป็นการนำ ก็แค่กินข้าวใม่ หลักธรรมมาใช้ปกครองในวัดได้เป็นอย่างดี พร้อมกัน เดี๋ยว ส่วนในการเทศน์สอนญาติโยมทุก ก็แตกกัน กวาด ครั้ง พระเราต้องพยายามจี้ไปให้โยมนำ วัดไม่พร้อมกัน เดี๋ยวก็แตกกัน กลับไปใช้ที่บ้านให้ได้ โดยเฉพาะการนำไป ใช้ปกครองในครอบครัวหรือที่ทำงานของเขา ธรรมะเป็นที่สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More