การเริ่มต้นอ่านพระไตรปิฎก ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 72
หน้าที่ 72 / 96

สรุปเนื้อหา

สำหรับผู้ที่เริ่มอ่านพระไตรปิฎก หลวงพ่อแนะนำให้เริ่มจากการอ่านพระสูตร เนื่องจากมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และแบ่งออกเป็นหมวดเข้าใจได้ง่าย เช่น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย และขุททกนิกาย เมื่อเริ่มเข้าใจแล้ว สามารถอ่านพระวินัยและพระอภิธรรมเพื่อให้มีความแตกฉานมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีพระไตรปิฎกฉบับย่อที่สะดวกต่อการศึกษาเป็นภาพรวมก่อนลงรายละเอียดในฉบับจริง ช่วยในการเข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การอ่านพระไตรปิฎก
-ประเภทของพระสูตร
-วิธีศึกษา
-พระวินัยและพระอภิธรรม
-พระไตรปิฎกฉบับย่อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๗๐ ใครที่เริ่มอ่านพระไตรปิฎกใหม่ๆ หลวงพ่อแนะนำให้ไปคว้า พระสูตรมาอ่านก่อน เพราะเป็นเรื่องราวอ่านง่ายๆ แบ่งออกเป็น หมวดหมู่ตามขนาดความสั้นยาวของเนื้อหา เรียกว่า นิกาย เช่น ทีฆนิกาย ได้แก่ การรวมพระสูตรที่มีเนื้อหายาวมาไว้ด้วยกัน มัชฌิมนิกาย ได้แก่ การรวมพระสูตรที่มีเนื้อหาปานกลางมาไว้ด้วยกัน ขุททกนิกาย ได้แก่ การรวมพระสูตรบทย่อยๆ ไว้ด้วยกัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น เพื่อปลูกนิสัยรักการอ่านพระไตรปิฎกกันก่อน เราก็ไป หยิบพระสูตรมาอ่านก่อน พออ่านพระสูตร แล้วเดี๋ยวนี้มหาจุฬาลงกรณาราชวิทยาลัย จบแล้ว เราก็มา ก็ทำพระไตรปิฎกชุดใหม่ออกมาแล้ว เล่มนี้ก็ อ่านพระวินัย อ่านง่าย เพราะมีการสรุปภาพรวมของแต่ละ พระสูตรเป็นหัวข้อต่างๆ เอาไว้ก่อนจะเข้าสู่ เนื้อหาจริง เลยทำให้มีข้อมูลช่วยในการทำความเข้าใจพระสูตรเข้าไป อีก หรือถ้าใครต้องการอ่านแบบที่มีการขยายความไว้ให้ ก็สามารถ อ่านได้จาก พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ทำพระไตรปิฎก พร้อมด้วยอรรถกถา หรือถ้าใครต้องการอ่านแบบที่เป็น สำนวนเทศน์ ง่ายๆ ก็ไปหยิบฉบับของ ส.ธรรมภักดี มาอ่าน พออ่านพระสูตรจบแล้ว เราก็มาอ่านพระวินัย คราวนี้ก็จะมี ความคุ้นสำนวนมากขึ้น ทำให้รู้เรื่องง่ายขึ้น เมื่อไรอ่านพระวินัยเข้าใจ แล้ว เราก็มาอ่านพระอภิธรรม ถ้าอ่านพระไตรปิฎกอย่างนี้ เราก็จะมี ความแตกฉานตามมา นอกจากนี้ ถ้าใครอยากจะศึกษาภาพรวมพระไตรปิฎกก่อน จะลงมืออ่านฉบับจริง ก็ยังมีพระไตรปิฎกฉบับย่ออยู่ฉบับหนึ่ง เป็น ของ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับประชาชน เล่มนี้ก็อ่านง่ายดี มีอยู่เล่มเดียวจบ ธรรมะเป็นที่สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More