การฝึกสมาธิและการเข้าถึงธรรมกาย ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 92
หน้าที่ 92 / 96

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงวิธีการฝึกสมาธิและการเข้าถึงพระธรรมกาย โดยเน้นการรักษาใจให้เป็นกลางและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับนิมิตที่เกิดขึ้น นักปฏิบัติต้องตั้งใจบริกรรมภาวนาและรักษาจิตไว้ที่ศูนย์กลางกาย นอกจากนี้ยังสอนให้ไม่ต้องกำหนดลมหายใจและมุ่งเน้นที่การฝึกวิปัสสนาเพื่อเกิดความสุขและความเจริญ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้มีความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-การทำใจให้เป็นกลาง
-การบริกรรมภาวนา
-การไม่กังวลเกี่ยวกับนิมิต
-การฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงธรรมกาย
-การรักษาจิตที่ศูนย์กลางกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอ จากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึก สมาธิเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย อาศัยการนึกถึง “อาโลก กสิณ”คือกสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อฝึกสมาธิจนเข้าถึงดวง ปฐมมรรคแล้ว ฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกายมนุษย์ละเอียด กาย ทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรม กายแล้วจึงเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความจําเป็นต้อง กำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือ นั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรม ภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอด ไป ๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย ทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคอง ใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้ เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้น ไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกัน ได้ว่า ได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุข ความเจริญทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า สมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More