ข้อคิดการเข้าใจพระธรรมในภาคปฏิบัติ ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 81
หน้าที่ 81 / 96

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาตนเองและสังคม แต่ถ้าวัดไม่มีการสอนหรือสอนอย่างผิดวิธี ก็อาจทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ได้ประโยชน์ และส่งผลให้วัดล้มละลายได้ โดยเฉพาะรอบวัดควรมีการสร้างความเข้าใจในพระธรรม ผ่านการปฏิบัติกรรมฐานตามคำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นเกสา โลมา นขา ตันตา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกสมาธิ เมื่อเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะสามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้ในที่สุด.

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดการปฏิบัติธรรม
-การสอนและการศึกษาในวัด
-การฝึกสมาธิพื้นฐาน
-ผลกระทบของการไม่สอนพระธรรม
-การสร้างชุมชนที่เข้าใจธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ข้อคิดการเข้าใจพระธรรมในภาคปฏิบัติ ธรรมะเป็นที่สบายในเชิงภาคปฏิบัตินั้น ถ้าวัดไหนไม่มีการ สอนประชาชนแต่สอนตัวเอง ถ้าอย่างนั้นก็ยังพอรอดตัวอยู่ เพราะ ตัวเองก็ได้ปฏิบัติ แต่ถ้าวัดไหนสอนก็ไม่ได้สอน ถ้าอย่างนั้นก็พลาด ไป เพราะจะไม่มีทางเลยที่จะทำความรู้ดิบๆ ให้เป็นความรู้สุกๆ ได้ เพราะฉะนั้นตัวเองก็แย่ ญาติโยมที่ถวายอาหารให้ฉันทุกๆ วัน ก็จะ ไม่ได้อะไร แล้วเขาก็จะเบื่อพระกัน แล้วในที่สุดเขาก็จะไม่บำรุงพระ ไม่บำรุงวัด แล้วก็กลายเป็นว่า พระเรานั่นเองที่เป็นต้นเหตุให้วัด ล้มละลายเป็นวัดร้างไป พระศาสนาต้องเสื่อมโทรม ในการท่าธรรมะเป็นที่สบายในเชิงปฏิบัติ หลวงพ่อขออธิบาย ง่ายๆ อย่างนี้ ในขณะที่เรายังหาครูบาอาจารย์ ซึ่งมีความชำนาญ ด้านการปฏิบัติไม่ได้ เราก็ปฏิบัติกันง่ายๆ ตามที่พระอุปัชฌาย์ให้มา ตั้งแต่วันบวช นั่นคือ กรรมฐานขั้นพื้นฐาน ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นบทฝึกสมาธิ เราปฏิบัติภาวนาของเราเรื่อยไป ทำ อย่างที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านให้พระเณรลองทำใน ช่วงวันพระก็ได้ คือวันนี้นึกอะไรไม่ออก เพิ่งปลงผมมาใหม่ๆ เอา ปอยผมมาซักกระจุกมาตั้งไว้กลางท้อง เอาปอยผมเป็นนิมิต แล้วก็ ภาวนาว่า เกสา เกสา เกสา ไปสักเจ็ดวัน วันต่อมาเปลี่ยนเป็นโลมา บ้าง เอาอีกเจ็ดวัน หมุนเวียนกันไปก็ได้ วันหนึ่งวันใดใจสงบเข้า ความสว่างโพลงภายในก็จะเกิดขึ้น พอฝึกสมาธิได้สงบหนักแน่นยิ่งขึ้น ถึงจุดใดจุดหนึ่งเข้าถึงพระธรรมกายได้เหมือนกัน ถ้าเราปฏิบัติธรรมะเป็นที่สบายในเชิงปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ช้า เราก็จะสอนญาติโยมที่ไปวัดได้ ก็เป็นอันว่าเราสามารถสร้าง ธรรมะให้เป็นที่สบายในแง่ทั้งการศึกษาแก่ตัวเองและแก่ประชาชนแล้ว การเข้าใจในพระธรรม ๗๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More