ความจริงและธรรมะ ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 68
หน้าที่ 68 / 96

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความหมายของธรรมในชีวิตประจำวัน โดยอธิบายว่าความจริงและความดีสองประการนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากเราเข้าใจธรรมชาตินี้ เราจะไม่รู้สึกทุกข์กับมัน หลักไตรลักษณ์ช่วยให้รู้ทันสภาพเหล่านั้น ทำให้จิตใจสามารถประคับประคองได้อยู่ตลอดเวลา ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าธรรมะมีความหมายทั้งในด้านความจริงและความดีในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความจริง
-ไตรลักษณ์
-ธรรมะ
-การประคองใจ
-จิตใจที่มีสติปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

bb ของบางอย่างเป็นความจริง แต่ไม่เป็นความดี ถ้าถามว่า การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นความดีไหม? ไม่เป็น เพราะไม่เห็นมีความดี อะไร ถ้าจะเป็นก็เป็นธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ธรรมในความหมาย ของความจริงนี้ ยังหมายถึงธรรมชาติได้อีกด้วย เช่น สรรพสิ่ง ทั้งหลายมีลักษณะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง(อนิจจัง) ทนอยู่ในสภาพ เดิมไม่ได้ ทุกขัง) ใครก็บังคับ บัญชาไม่ได้(อนัตตา) วันหนึ่ง มันก็เสื่อมสลายหายไป ใครก็ตามถ้ารู้ความจริง เกี่ยวกับธรรมชาติเหล่านั้น จะ ทำให้สามารถประคองใจไม่ให้ไป เกี่ยวข้องเกี่ยวพันอยู่กับสิ่งเหล่า นั้น จนกระทั่งเกิดความทุกข์โศก ขึ้นมา ถ้าเขาทําใจได้อย่างนั้น รู้เท่าทันไตรลักษณ์อย่างนั้น ความรู้นั้นก็จะเป็นความดีติดตัว คือ ถึงแม้สิ่งเหล่านั้นจะมีอันต้องเป็นไป ก็ไม่เดือดร้อนใจ ไม่หวั่นไหว ยังสามารถประคับประคองใจให้มีสติปัญญาแจ่มใสอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ธรรมะในชีวิตประจำวันแปลได้ แม้สิ่งเหล่านั้นจะ สองความหมายว่า ความจริงและความดี มีอันต้องเป็นไป ในลักษณะของคำเดียว ที่มีสอง ก็ไม่เดือดร้อนใจ ความหมายนี้ ไม่ ไม่ได้มีเฉพาะภาษาบาลีเท่านั้น ใน ไม่หวั่นไหว ภาษาไทยก็มีเหมือนกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คำว่า “ถูก” เป็นคำตรงข้ามกับ “ผิด” ขณะเดียวกัน “ถูก” ก็เป็นคำตรงข้ามกับ “แพง” ด้วย ธรรมะเป็นที่สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More