บทบาทของอาหารในชีวิตพระสงฆ์ ปฏิรูปเทส ๔ สูตรสำเร็จการบริหารวัด หน้า 36
หน้าที่ 36 / 96

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับบทบาทของอาหารในชีวิตพระสงฆ์ โดยยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างวัดในชนบทและกรุงเทพฯ ประเด็นสำคัญคือการจัดการอาหารที่ต้องมีมาตรฐาน 5 ข้อ ได้แก่ ทันเวลา ปริมาณพอเพียง คุณค่าทางโภชนาการ สะอาด และอร่อย วัดในกรุงเทพฯ มักจะมีความท้าทายในการจัดการอาหารสำหรับพระที่ต้องออกไปเรียน ในขณะที่วัดในชนบทมักจะมีสภาพการจัดหาอาหารที่ดีกว่า เนื่องจากพระสามารถออกบิณฑบาตและกลับมารับประทานอาหารด้วยกันได้ ส่งผลให้เกิดความสามัคคีในวัด

หัวข้อประเด็น

-อาหารและพระสงฆ์
-การจัดการโรงครัวในวัด
-คุณค่าทางโภชนาการ
-ความสำคัญของการทานอาหารพร้อมกัน
-ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ในชนบท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๔ อาหารเป็นที่สบายเป็นอย่างไร ? เรื่องอาหารเป็นที่สบายนั้น วัดในชนบทไม่มีปัญหามากเหมือน วัดในกรุงเทพฯ เพราะมีพระที่อยู่วัดในกรุงเทพฯ ต้องไปศึกษาต่อ ออกจากวัดไปตั้งแต่เช้าตรู่ ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวไปเรียนไม่ทัน บางวัด ก็ตั้งโรงครัวขึ้นมาเลี้ยงพระ เพื่อให้พระไปเรียนทันเวลาด้วย และ เพื่อตั้งรับช่วงเข้าพรรษาที่จะมีพระใหม่มาบวชเรียนจํานวนมาก เพราะฉะนั้น ที่ใดมีโรงครัวไม่ว่าจะเลี้ยงพระ เลี้ยงคน ก็ จําเป็นจะต้องมีหัวใจของโรงครัว ๕ ข้อ ไว้ใช้เป็นมาตรฐานในการ ทำให้อาหารเป็นที่สบาย คือ ๑) ทันเวลา ๒) ปริมาณพอเพียง ๓) มีคุณค่าทางโภชนาการ ๔) สะอาด ๕) อร่อย แต่ว่าหัวใจโรงครัวนี้ เราใช้กับโรงครัวเป็นหลัก แต่ว่าวัดใน ชนบทส่วนมากแล้ว พระมีจำนวนไม่มาก ตอนเช้าพระก็ออกบิณฑบาตพร้อมกัน พอ กลับวัด ถึงเวลาฉัน ก็มาฉันพร้อมกัน ก็เลย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการจัดหาอาหาร ในเรื่องการฉันพร้อมกันนี้ เป็นเรื่อง ความสามัคคีใหญ่ของทั้งวัด ขอฝากข้อคิดนี้ คือ หัวใจของโรงครัว ทันเวลา พอเพียง มีคุณค่า สะอาด อร่อย เอาไว้ อาหารเป็นที่สบาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More