ข้อความต้นฉบับในหน้า
นิกายนิชิเรน สนใจการปฏิบัติธรรมและต้องการอุปสมบท
พร้อมทั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ ขณะนั้นหลวงพ่อท่านอา
พาธ สมเด็จป๋าวัดโพธิ์ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรม
วโรดม จึงเป็นองค์อุปัชฌาย์แทนให้ พร้อมทั้งได้ตั้งฉายาพระ
ชาวญี่ปุ่นนั้นว่า ธมฺมฉนฺโท เมื่อบวชแล้วก็ได้จำพรรษาอยู่ที่
วัดปากน้ำประมาณ 5 เดือน ปฏิบัติธรรมจนได้ธรรมกายแล้ว
จึงกลับไปเผยแผ่วิชชาธรรมกายในประเทศญี่ปุ่น
ก่อนหน้าที่จะมีการบวชชาวญี่ปุ่นนั้น ได้มีคณะสมณทูต
ญี่ปุ่นภายใต้การนำของท่านสังฆราช ตาคาชินา เดินทางมา
เยี่ยมวัดปากน้ำ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ เวลา
๑๔.๐๐ น. หลังจากที่คณะสมณทูตนี้เดินทางกลับจากการประชุม
พุทธศาสนิกสัมพันธ์ ณ ประเทศอินเดีย และดูการสังคายนา
ที่ประเทศพม่าเสร็จแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการอำนวยความสะดวก
ให้คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่คณะนี้ได้เดินทางมาที่วัดปากน้ำคือนาย
เอี่ยม สังขวาสี ผู้เป็นอุปนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
และในครั้งนั้นเองที่คณะสงฆ์จากญี่ปุ่นได้สนใจศึกษา
เรื่องฐานที่ตั้งของใจซึ่งต่างจากวิธีการปฏิบัติของตน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งท่านสังฆราชถึงกับกล่าวชื่นชม และอาสาจะไปแนะ
นำการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีพระ
ผู้ติดตามในคณะชื่อท่านกาชิยูอิไซ ได้ลงมือปฏิบัติธรรมจนได้
୭୭୭