ประวัติการศึกษาของพระมหาช่วง พระมงคลเทพมุนี มหาปูชนียาจารย์ หน้า 141
หน้าที่ 141 / 170

สรุปเนื้อหา

บทเรียนสำคัญจากพระมหาช่วงเกี่ยวกับการบริหารงานคณะสงฆ์ที่ได้เรียนรู้จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากในการถ่ายทอดคุณธรรมและประสบการณ์ที่น่าทึ่ง พระมหาช่วงได้รับการศึกษาบาลีและสำเร็จเปรียญธรรมเก้าประโยคด้วยความตั้งใจสูงสุด ทั้งนี้ท่านยังมีครูที่มีความสามารถและประสบการณ์สูงมาคอยสอนควบคู่กันไป ทำให้ท่านเติบโตขึ้นในเส้นทางการเรียนรู้และการปฏิบัติในงานสงฆ์อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติพระมหาช่วง
-การเรียนรู้จากสมเด็จพระสังฆราช
-การศึกษาบาลี
-ประสบการณ์ในงานคณะสงฆ์
-คุณธรรมและการบริหารจัดการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค และเพื่อเรียนรู้งานการคณะสงฆ์จากสมเด็จพระอริย วงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ (ปลด กิตฺติโสภโณ) เมื่อ ครั้งยังเป็นสมเด็จพระสังฆนายกและเป็นเจ้าอาวาสวัดเบญจม- บพิตรฯ ในสมัยนั้น การได้ไปอยู่จำพรรษา ณ วัดเบญจมบพิตรฯ นี้เอง ที่ เป็นโอกาสอันดียิ่งของพระมหาช่วง ที่จะได้มีโอกาสรับการ ถ่ายทอดคุณธรรม ได้เรียนรู้การบริหารงานคณะสงฆ์จาก พระมหาเถระ ผู้ที่ต่อมาได้เป็นประมุขแห่งสงฆ์ทั้งประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากอย่างยิ่ง และพระมหาช่วงใน ครั้งนั้นก็มิได้ปล่อยโอกาสนั้นให้ล่วงเลยไป ท่านได้ตั้งใจสนอง งานอย่างดีเยี่ยม จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการสมเด็จ พระสังฆนายก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ในระหว่างนั้นท่านได้สอน บาลีให้แก่พระเณรที่วัดเบญจมบพิตรฯ พร้อมกับศึกษาบาลี ชั้นประโยคแปดที่วัดสามพระยาควบคู่กันไปด้วย พระอาจารย์ ผู้สอนบาลีของท่านคือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) ปราชญ์ทางภาษาบาลีผู้มีลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศ จนกระทั่งถึง ปี พ.ศ.๒๔๙๗ ท่านก็สำเร็จเปรียญธรรมเก้าประโยค การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มีครูผู้เลิศถึง ๓ ท่านใน เวลาเดียวกันเช่นนี้ ทําให้ท่านได้รับการถ่ายทอดและฝึกฝน คุณธรรม ความรู้ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์จาก ୭୭
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More