คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 30
หน้าที่ 30 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พิจารณาคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ พร้อมทั้งเรื่องราวของสิงคาลกะซึ่งเป็นตัวอย่างของการขาดจริยธรรมและการขาดการอบรมในด้านศีลธรรม ส่งผลให้เขาไม่สามารถครองชีวิตได้ดีและรักษามรดกของบิดาไว้ได้ การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนี้จะช่วยให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการอบรมสั่งสอนในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเติบโตเป็นคนดีในสังคม ปัญหาของความเชื่อที่ผิดและการหลงเชื่อในโชคลาภโดยไม่ทำงานหนักก็ถูกกล่าวถึงเช่นกัน ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ว่าความสำเร็จต้องมาจากความพยายามและการพัฒนาตนเอง.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของคนดี
-การอบรมจิตใจ
-บทเรียนจากพุทธศาสนา
-เรื่องราวของสิงคาลกะ
-ความสำคัญของจริยธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ แล้วก็ลงมือขัดต้นไม้เพื่อหาเลขเด็ดไปซื้อหวยกัน อาจมีบางคนซึ่ง แต่ส่วนใหญ่ล้วนเสียเงินเสียทองฟรี กล่าว มีโชคแล้วถูกหวยบ้าง ได้ว่า ยิ่งเสี่ยงโชคก็ยิ่งฝืดเคืองมากยิ่งขึ้น ท บรรดาต้นไม้ภูเขา แม่น้ำ ตลอดจนผีสางเทวดา ไม่ใช่ที่พึ่งอัน เกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมจึงไม่สามารถช่วยให้คนเราพ้นทุกข์ พ้นภัยได้ ในสมัยพุทธกาล ก็มีคนที่มีความเชื่อดังกล่าวอยู่มากมาย และพอจะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น เรื่องของชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกะ ซึ่งมีนิสัย ดื้อรั้นอวดดี ท่านองเดียวกับเด็กวัยรุ่นปัจจุบันที่ขาดการอบรม ฝึกฝนด้านศีลธรรมคุณธรรมนั่นแหละ แม้มีมารดาบิดาเป็นคฤหบดี อีกทั้งเป็นพระโสดาบันทั้งคู่ แต่อาจจะไม่มีเวลาอบรมบุตรมากพอ จึงไม่สามารถอบรมสั่งสอนสิงคาลกะให้เลื่อมใสศรัทธาในพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายดังที่ตนเป็น ก่อนหลับตาลาโลก บิดาจึงให้โอวาทบุตรชายเพียงสั้นๆ ว่า “ลูกจงนอบน้อมทิศทั้งหลาย” ที่ให้โอวาทเช่นนี้ก็เพราะคาดหวังว่า เมื่อ พระบรมศาสดาหรือพระสาวกทั้งหลาย เห็นชายหนุ่มไหว้ทิศ ต่างๆซึ่งเป็นทิศทางด้านภูมิศาสตร์ ก็จักแสดงธรรมชี้แจงความหมาย ที่ถูกต้องของค่าว่า “นอบน้อมทิศทั้งหลาย” ให้แก่สิงคาลกะ เมื่อ ถึงเวลานั้นเขาคงจะเกิดความเข้าใจถูก สามารถครองตนให้เป็นคน ดีได้ตลอด ทั้งสามารถรักษามรดก ๔๐ โกฏิ ของบิดาไว้ได้ ไม่ ให้อันตรธานสูญสิ้นไปเพราะกรรมชั่ว หรือเพราะความโง่เขลาเบา ปัญญาของเขา ยิ่งกว่านั้น ยังอาจจะสามารถพัฒนาตนให้เจริญ ก้าวหน้าเหมือนหรือยิ่งกว่ามารดาบิดาเสียอีก • • ๒๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More