คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 67
หน้าที่ 67 / 263

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์กู้วิกฤตชาติได้กล่าวถึงปัญหาทางสังคมต่างๆ อาทิเช่น การค้ายาเสพย์ติด ค้ามนุษย์ และการเสพสิ่งเสพติดที่ทำให้คนอยู่ในสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี โดยเฉพาะการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยที่ไม่มีระเบียบวินัย ซึ่งนำไปสู่วิกฤตทางด้านเศรษฐกิจทั้งในระดับตัวบุคคลและสังคม ดังนั้น จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ หลักการควบคุมอบายมุขมีความสำคัญในการสร้างจิตสำนึกที่ดีในสังคม ผู้อ่านได้เรียนรู้ว่าความละเอียดในการประพฤติตนเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของคนดี กล่าวว่า คนดีควรหลีกเลี่ยงอบายมุขทั้ง 6 ประการ และมีอริยวินัยในชีวิตเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทั้งตนเองและสังคม

หัวข้อประเด็น

-ปัญหาทางสังคม
-ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
-คุณสมบัติของคนดี
-อบายมุข
-ความรับผิดชอบต่อสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

0 • • ๕๘ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ เช่น การค้ายาเสพย์ติด ค้ามนุษย์ ตลอดจนสิ่งผิดศีลธรรมและ ผิดกฎหมายต่างๆ ครั้นเมื่อถึงเวลาใช้จ่ายทรัพย์ ก็ใช้จ่ายแบบ ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย ไม่เสียดาย ไม่มีระเบียบวินัย หมกมุ่นอยู่กับ สิ่งบันเทิงเริงรมย์ การพนัน ตลอดจนสิ่งเสพย์ติดอันหาประโยชน์ มิได้ นอกจากจะนำความเสียหายมาให้ตัวเองแล้ว ยังทำลายศีลธรรม ทางเศรษฐกิจทั้งส่วนตัวและส่วนรวมด้วย จึงถือว่าคนใจหยาบเป็น คนที่ขาดความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจทั้งของส่วนตน และส่วนรวม เป็นลักษณะนิสัยที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือกำจัดให้สิ้นไป จากคำบรรยายลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันระหว่างคนใจหยาบ กับคนใจละเอียด จะเห็นว่า คนใจละเอียดพยายามประพฤติตน ด้วยความระมัดระวัง ไม่พาตนเข้าไปเกลือกกลั้วกับอบายมุขทั้ง 5 ประการ ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ๑. การเสพน้ำาเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท (การเสพยาเสพย์ติด ก็ควรจัดเข้าไว้ในข้อนี้ ๒. การเที่ยวกลางคืน ๓. การเที่ยวดูมหรสพ ๔. การเล่นการพนัน ๕. การคบคนชั่วเป็นมิตร 5. ความเกียจคร้านทำการงานประกอบอาชีพ การมีอริยวินัยควบคุมอบายมุข ๖ ประการนี้ เป็นคุณสมบัติ ประการที่ ๓ ของคนดี อาจกล่าวสรุปได้ว่า คุณสมบัติประการที่ ๓ ของคนดี คือ มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More