มหาวิบัติของสังคม คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 186
หน้าที่ 186 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ความสำคัญของพุทธบริษัท ๔ ในการรักษาพุทธศาสนา และผลกระทบต่อความรับผิดชอบด้านศีลธรรมในเศรษฐกิจของคฤหัสถ์ เน้นถึงปัญหาการขาดที่พึ่งของประชาชนและความจำเป็นในการฟื้นฟูความสำเร็จของพระพุทธศาสนา ซึ่งสื่อให้เห็นถึงความขัดแย้งในสังคมและความจำเป็นที่ต้องมีที่พึ่งทางจิตใจเพื่อหลีกเลี่ยงทางเลือกเชิงลบ เช่น การฆ่าตัวตาย โดยประเด็นที่สำคัญยังรวมถึงพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขในปัจจุบันและการพัฒนาสังคมต่อไปทางเหตุผลและจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

- พระพุทธศาสนาและพุทธบริษัท ๔
- ความรับผิดชอบของคฤหัสถ์
- ปัญหาทางจิตใจในสังคม
- อบายมุขในสังคมไทย
- การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มหาวิบัติของสังคม • ๑๗๙ พุทธศาสนาจะยั่งยืนสืบไปได้ก็เพราะพุทธบริษัท ๔ แต่ถ้าญาติโยม ไม่บำรุงพระภิกษุเสียแล้ว ก็จะไม่มีคนเข้ามาบวชเป็นศาสนทายาท ของพระพุทธศาสนา ศาสนา ๓) คนไม่มีที่พึ่ง เมื่อประชาชน “ทุบทิ้ง” พระพุทธ เสียแล้ว เมื่อยามทุกข์ใจก็ไร้ที่พึ่ง ขาดโยนิโสมนสิการ ไม่สามารถ แก้ปัญหาในด้านจิตใจได้ ถ้าไม่อ่อนแอ ไร้เหตุผลถึงขั้นฆ่าตัวตาย ประชาชนเหล่านั้นคงต้องไปกราบขอพรจากสภาพ แวดล้อม ตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ภูเขา เจ้าป่า หรือเทพเจ้า ที่ไม่เคย ทิศ ปรากฏตัวให้เห็น เป็นต้น หรือมิฉะนั้นก็คงจะไปไหว้ เหมือนสิงคาลกะ ก็ต้องถามใจประชาชนว่า ระหว่างทิศในวิชา ภูมิศาสตร์กับพระรัตนตรัย ท่านจะเลือกเคารพกราบไหว้อะไร ? ๓. คฤหัสถ์ขาดความรับผิดชอบ ต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ถ้าพระภิกษุขาดวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของท่านให้สมบูรณ์ ผลเสียที่จะเกิดประการที่ ๓ คือ คฤหัสถ์ไม่มีความสำนึกรับผิดชอบ ต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะนิสัย และแสดง พฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑) หมกมุ่นอยู่กับอบายมุข ในสภาพสังคมปัจจุบันนี้ปรากฏ ให้เห็นชัดแล้วว่า คนในสังคมไทยส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องพัวพัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More