ข้อความต้นฉบับในหน้า
๓๔
คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ
กรรมกิเลส ๓ ข้อแรก เป็นกรรมชั่วทางกาย ส่วนข้อ ๔
เป็นกรรมชั่วทางวาจา กรรมกิเลสทั้ง ๔ ข้อนี้ คนดีเขาไม่ทำกัน
เพราะมีอริยวินัยหรือมีศีลเป็นเครื่องกำกับ มีแต่คนชั่วคนบาป
เท่านั้นที่กระทำา บัณฑิตจึงไม่สรรเสริญ
ในเรื่องกรรมกิเลส ๔ นี้ เราอาจพิจารณาให้เข้าใจได้ด้วย
เหตุผลง่ายๆ ย่อๆ คือ
๑. ชีวิตของใคร ใครก็รัก คนดีที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์
ปราศจากกิเลสครอบงำ ย่อมตระหนักในข้อนี้ดี ดังนั้นใครๆ ก็
ต้องไม่ฆ่าใคร ถ้าใครฆ่า ย่อมแสดงว่ากระทำไปเพราะตกอยู่ใน
อำนาจกิเลส ดังนั้น ปาณาติบาต จึงจัดเป็นกรรมกิเลส
๒. ใคร ๆ ก็ต้องมีทรัพย์ จึงจะสามารถเลี้ยงชีวิตให้ยืนยาวต่อ
ไปได้ ถ้าขาดแคลนทรัพย์ แม้ไม่ถึงตาย ก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ ดัง
นั้น ใครๆ ก็ต้องไม่ลักขโมยทรัพย์ของใคร รวมไปถึงไม่คดโกงใคร
ไม่คอรัปชั่นอีกด้วย ใครก็ตาม ที่ไปลักทรัพย์หรือถือเอาทรัพย์
ของผู้อื่นมาเป็นของตนอย่างผิดทำนองคลองธรรม ไม่ว่าทรัพย์นั้น
จะเป็นของส่วนบุคคล หรือของส่วนรวมก็ตาม แสดงว่าทำไปด้วย
อำนาจกิเลสที่ครอบงำใจ ดังนั้น อทินนาทาน จึงจัดเป็น กรรมกิเลส
๓. ใคร ๆ ก็ตามที่คนรักของเขา ไม่ว่าจะเป็นภรรยา สามี หรือ
บุตร ถูกล่วงละเมิด ย่อมรู้สึกเจ็บช้ำระกำใจ และอับอายขายหน้า
ฉะนั้น ใครๆ ก็ต้องไม่ล่วงละเมิดทางเพศ ภรรยา สามี บุตรของ
ใคร ตลอดจนผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้อื่นด้วย ถ้าใครล่วงละเมิด
ย่อมแสดงว่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสที่ครอบงำใจ ดังนั้น
กาเมสุมิจฉาจารจึงจัดเป็นกรรมกิเลส