โทษของความเกียจคร้าน คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 82
หน้าที่ 82 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงโทษของความเกียจคร้านที่แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม โดยเน้นผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของคน รวมถึงการทำงานประกอบอาชีพที่เป็นหน้าที่พื้นฐานของมนุษย์ การบริจาคทาน และการสะสมในภพชาติหน้าจากการทำงาน นอกจากนี้ยังพูดถึงพฤติกรรมของคนเกียจคร้านที่มักจะอ้างสารพัดเหตุผลในการหลีกเลี่ยงการทำงาน การปล่อยเวลาให้ล่วงไปด้วยอบายมุข รวมถึงผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-โทษของความเกียจคร้าน
-การแบ่งกลุ่มคนเกียจคร้าน
-ผลกระทบทางศีลธรรม
-การทำงานและปัจจัย 4
-พฤติกรรมของคนเกียจคร้าน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คนดีต้องเห็นโทษของอบายมุข • ๗๓ ๖. โทษของความเกียจคร้าน คนเกียจคร้านในโลกนี้อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกียจคร้านโดยขันธสันดาน กับ กลุ่มที่เกียจคร้านอัน เนื่องมาจากอบายมุขทั้ง 5 ประการ ข้างต้น การทํางานประกอบอาชีพเป็นหน้าที่ของทุกคน เพราะ ทุกคนมีชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย ๔ การทำงานประกอบอาชีพ ก็เพื่อ หาทรัพย์สินมาเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนปัจจัย ๔ รวมทั้งเพื่อ สงเคราะห์ญาติมิตร ตลอดจนเพื่อการบริจาคเป็นทานกุศล สั่งสม ไว้ในภพชาติเบื้องหน้าต่อไป คนที่เกียจคร้าน ไม่ยอมทำงาน หรือทำงานคั่งค้าง ไม่ ตั้งใจทํามาหากิน ปล่อยเวลาให้ล่วงไปๆ ถือว่าเป็นคนที่ตายแล้ว ทางด้านความคิดและความดี คนบางคนเกียจคร้านในการทำงาน ทั้งๆ ที่ยากจน จึง ต้องหาวิธีเอาตัวรอด ด้วยการทำตัวเป็นกาฝากอาศัยคนอื่นบ้าง ทำลายสิ่งแวดล้อมและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อหาทรัพย์มา ใช้จ่ายบ้าง ส่วนคนมีเงินมีมรดกที่เกียจคร้านในการทำงาน ก็อาจ จะปล่อยเวลาให้ล่วงไปกับอบายมุขต่างๆ เหล่านี้คือที่มาแห่งความ เสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรมทางเศรษฐกิจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงนิสัยและพฤติกรรมของ คนเกียจคร้านไว้ให้ดูพอเป็นตัวอย่าง 5 ประการด้วยกัน คือ ๑) มักอ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน ๒) มักอ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More