ความลำเอียงในสังคมและการจัดการวิกฤตชาติ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 55
หน้าที่ 55 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงประเภทของความลำเอียงในสังคม ได้แก่ โทสาคติ ซึ่งเกิดจากความโกรธและความพยาบาท, โมหาคติ ที่เกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญา, และภยาคติ ที่เกิดจากความกลัว แม้พระอริยสาวกจะต้องสิ้นชีวิตก็ไม่ยอมล่าเอียง การระมัดระวังในความคิดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอคติในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-โทสาคติ
-โมหาคติ
-ภยาคติ
-สังคมและความลำเอียง
-การจัดการวิกฤตชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

• คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ ๒. โทสาคติ คือ ความลำเอียง อันเกิดจากอำนาจความโกรธ ความพยาบาท ผูกเวรกัน ทำให้บุคคลทำสิ่งไม่ควรทํา เช่นทำให้ผู้ ไม่ควรเป็นเจ้าของได้ผลประโยชน์ ทำให้ผู้ที่ควรเป็นเจ้าของต้อง เสียผลประโยชน์หรือได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ที่ท่า เช่นนี้ก็เพราะอำนาจความโกรธ ความพยาบาทที่มีอยู่ในใจบุคคล จึง ไม่ตั้งอยู่ในความเที่ยงธรรม เป็นที่มาแห่งการกลั่นแกล้งกันในสังคม ๓. โมหาคติ คือ ความลำเอียง อันเกิดจากความโง่เขลาเบา ปัญญา ทำให้บุคคลทำสิ่งไม่ควรทำ เช่น ทำให้ผู้ไม่ควรได้ประโยชน์ กลับได้รับ ส่วนผู้ควรได้รับกลับไม่ได้รับ หรือได้รับน้อยกว่าที่ควร ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะความโง่เขลาเบาปัญญาที่มีอยู่ในใจของบุคคลนั่นเอง ทําให้สังคมขาดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เหมือนไม้หลักปักเลน ๔. ภยาคติ คือ ความลำเอียง อันเกิดจากความกลัวภัยมาถึง ตัว ทำให้บุคคลทำสิ่งไม่ควรทำ เช่น ทำให้ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์ กลับได้รับ ส่วนผู้ควรได้รับกลับไม่ได้รับ หรือได้รับน้อยกว่าที่ควร ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะบุคคลนั้นกลัวภัยอันตรายจะมาถึงตนนั่นเอง ก่อ ให้เกิดภัยมืดระบาดคุกคามในสังคม พระอริยสาวกทั้งหลาย แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ไม่ยอมล่าเอียง สาเหตุที่ทำให้เกิดอคติ ที่ใดก็ตามที่มีคนอยู่ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ถ้าไม่ ระมัดระวังความคิด ใจย่อมจะคิดไปในทางความลำเอียงขึ้นได้ แต่ถ้าเรามีความสํานึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More