คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 110
หน้าที่ 110 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เจาะลึกเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างมิตรแท้และมิตรเทียม โดยระบุ 16 พฤติกรรมที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคุณภาพของเพื่อน โดยมีหลักการในการตรวจสอบผ่าน "ตะแกรงกายสิทธิ์" เพื่อค้นหาคนดีและคนเลว นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดีโดยการรักษาและถ่ายทอดความดีให้แก่กัน เพื่อให้สังคมมีความเจริญและมีมิตรภาพที่แท้จริง การเรียนรู้ในหัวข้อนี้ถ่ายทอดมาจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคมอย่างสร้างสรรค์

หัวข้อประเด็น

-แยกแยะมิตรแท้กับมิตรเทียม
-พฤติกรรมของมิตรเทียม
-พฤติกรรมของมิตรแท้
-ตะแกรงกายสิทธิ์
-การพัฒนาคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ ๒. หลักในการแยกแยะระหว่างมิตรเทียม - มิตรแท้ การ ที่จะสามารถรู้ได้ว่าใครเป็นมิตรเทียมหรือมิตรแท้นั้น สังเกตได้ จากพฤติกรรม ๑๖ ประการที่เขาแสดงออกหรือปฏิบัติต่อเพื่อนฝูง มิตรเทียมมีพฤติกรรมเลว ๑๖ ประการ มิตรแท้ก็มีพฤติกรรมดี หรือมีวินัยในการคบเป็นอย่างดี ๑๖ ประการ พฤติกรรมฝ่ายละ ๑๖ ประการนี้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจสอบ หรืออาจเรียกว่า “ตะแกรงกายสิทธิ์” สำหรับร่อนหาคนเลวหรือคนดี ๓. แหล่งของมิตรเทียม - มิตรแท้ พึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่มี ใครในโลกนี้ที่จะเป็นคนเลวครบขั้น หรือดีครบเครื่อง ๑๖ ประการ ดังกล่าวแล้ว แต่ทว่าปุถุชนทุกๆ คนจะมีลักษณะนิสัยและ พฤติกรรมทั้งเลวและดีปนกันอยู่ในตัว การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้พฤติกรรมของคนโดยแบ่งออกเป็นมิตรเทียมกับมิตรแท้ ก็ เพื่อให้ยึดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อสะดวกและง่ายสาหรับใช้ตรวจสอบ หรือค้นหาคนเลว-คนดี ๔. หลักในการพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดี ด้วยการใช้ “ตะแกรงกายสิทธิ์” เป็นเครื่องมือตรวจสอบ เราย่อมพบว่า ตัวเราเอง ผู้ใกล้ชิดเรา ญาติพี่น้องเพื่อนพ้อง ตลอดจนคนที่เรา ติดต่อคบหาสมาคมด้วย มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง เมื่อพบแล้วจึง ปฏิบัติดังนี้ คือ ๑) รักษาและถ่ายทอดความดีให้แก่กันและกัน ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้คําว่า “ปิด” คือ รักษา ความดีทั้งหมดของทุกฝ่ายเอาไว้ แล้วถ่ายทอดให้ซึ่ง กันและกัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More