คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 61
หน้าที่ 61 / 263

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์นี้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติ ผ่านการศึกษาและปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยเน้นความสำคัญของการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและการหลีกเลี่ยงความลำเอียง ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ ในสังคม การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของคนดีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรมและมีความสุขยั่งยืน เพราะการบิดเบือนความยุติธรรมจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเองและสังคมโดยรวม.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-คุณสมบัติของคนดี
-ความรับผิดชอบต่อสังคม
-ความลำเอียงและผลกระทบ
-การป้องกันปัญหาวิกฤต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕๒ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศชาติใน ขณะนี้ให้สําเร็จโดยรวดเร็ว ทั้งป้องกันมิให้เกิดปัญหาเช่นนี้ซ้ำอีก ในอนาคต คนไทยทั้งชาติจึงต้องหันมาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าง จริงจัง ให้รู้และเข้าใจถึงคุณสมบัติของคนดี นอกจากคุณสมบัติ ข้อแรกที่กล่าวแล้วในเรื่องกรรมกิเลส ๔ ก็จะต้องตึกษาให้รู้และเข้าใจ คุณสมบัติของคนดีข้อที่ ๒ อีกว่า จะต้องมีความสำนึกรับผิดชอบ ต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของเพื่อนร่วมสังคม ด้วยการนำ เอาอริยวินัยมาควบคุมกายและวาจาของตน ไม่ให้ก่อความลำเอียง ใด ๆ แก่สังคมทั้งสิ้น เพราะความลำเอียงเป็น ที่มาของการฉ้อ ราษฎร์บังหลวงและการเล่นพรรคเล่นพวก ความลำเอียงนอกจาก จะเป็นการทำลายประโยชน์สุขของสังคม โดยรวมแล้ว ยังทำลาย เกียรติยศชื่อเสียงตลอดจนประโยชน์สุขของตนเองด้วย สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรว่า ดังที่พระ “ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม (ขาดความเป็นธรรม กลั่น แกล้งผู้อื่น) เพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความ หลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ข้างแรม จากพุทธภาษิตนี้ย่อมหมายความว่า ความลำเอียงเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตนบ้าง ส่วนครอบครัวบ้าง ส่วนพรรคพวกหมู่คณะ ของตนบ้าง แม้จะได้รับความสุขสบายก็เพียงเล็กน้อย แต่ในที่สุด ก็จะถูกติฉินนินทา ทั้งนี้ เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด ผู้มีอำนาจ ที่ลำเอียง ย่อมไม่ยอมกระจายทรัพยากรให้แก่ส่วนรวม พยายาม ป สิงคาลกสูตร ที.ปา. ๑๖/๑๗๗/๒๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More