แม่แบบเศรษฐกิจของคนดี คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 153
หน้าที่ 153 / 263

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้พูดถึงแม่แบบเศรษฐกิจของคนดี โดยจำแนกประเภทของบุคคลที่แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ทำร้ายคนอื่น การใช้จ่ายทรัพย์เพื่อความสุขส่วนตัวและช่วยเหลือผู้อื่นถูกต้องตามหลักศีลธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องผู้บริโภคกามประเภทที่ ๑๐ และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำบุญเพื่อความมั่นคงในชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมเตือนสติไม่ให้ยึดมั่นในทรัพย์สมบัติจนเกินไป เพื่อมีความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตคือการแสวงหาความหลุดพ้นจากกิเลสสู่ความสุขสูงสุดที่เรียกว่าบรมสุข

หัวข้อประเด็น

-การแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม
-การใช้จ่ายทรัพย์
-การช่วยเหลือผู้อื่น
-การทำบุญ
-ความหลุดพ้นจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แม่แบบเศรษฐกิจของคนดี • ๑๔๕ ประเภทที่ ๑๐ เป็นบุคคลที่แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ ทำร้ายใคร ครั้นแล้วใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเองให้อิ่มหนำ สำราญ ไม่หมกมุ่นอยู่กับทรัพย์สมบัตินั้น มี แบ่งปันแจกจ่ายและทำบุญ ปัญญาตรองเห็นโทษในการหมกมุ่นจดจ่ออยู่กับการสะสม โภคทรัพย์ จึงเกิดปัญญาคิดจะปล่อยวางโภคทรัพย์นั้น เพื่อแสวงหา ความหลุดพ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญผู้บริโภคกามประเภท ที่ ๑๐ ว่า เป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุด จากเรื่องผู้บริโภคกามทั้ง ๑๐ ประเภทนี้ ให้ข้อคิดว่า คนดีนั้นจะต้องแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม คือมีอาชีพสุจริต ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ก่อความ เดือดร้อนรำคาญให้ผู้อื่น เมื่อได้ทรัพย์มาแล้ว คนดีควรใช้จ่ายทรัพย์ บำรุงตนเองให้มีความสุข ไม่อดอยาก ในขณะเดียวกัน ก็พึงแจก จ่ายสงเคราะห์ผู้ใกล้ชิดและบุคคลอื่นตามความเหมาะสมและตาม ความสามารถ ส่วนเรื่องการทําบุญนั้นจะละเลยเสียมิได้ ทั้งนี้ เพื่อ เป็นต้นทุนสําหรับความมั่นคงของชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ใน ขณะเดียวกันโภคทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประเภทที่มี วิญญาณครอง หรือไม่มีวิญญาณครอง ก็เป็นเพียงปัจจัย ๔ ที่จะ อำนวยความสะดวกสบาย ตลอดจนเป็นเครื่องส่งเสริม ให้เกิด ความคล่องตัวในการประกอบอาชีพหรือกิจการงานของเรา เท่านั้น อย่าพึ่งยึดมั่นถือมั่นเสียจนทำให้เกิดกิเลสบดบังปัญญา ไม่รู้เป้า หมายชีวิตสูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การแสวงหา ความ หลุดพ้น ได้แก่ หลุดพ้นจากกิเลส บรรลุมรรคผลนิพพานอันเป็น บรมสุข คือ สุขสูงสุด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More