ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๙๒
คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ
สู่ขอต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิง บุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เช่นนี้แหละ
ที่มวลสมาชิกในหมู่บ้านจะมาเชิญไปเป็น “เฒ่าแก่
อาจกล่าวได้ว่า บุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านนั้น
ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำและที่พึ่งของมวลสมาชิก ทำนองเดียวกับ
ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน แต่ได้รับเชิญจากมวลสมาชิกโดยพร้อมหน้ากัน
ไม่ต้องมีการซื้อเสียงกันเหมือนผู้ใหญ่บ้านและกำนันสมัยใหม่
อีกทั้งไม่มีบุคลิกลักษณะเยี่ยงเจ้าพ่อหรือมาเฟียในสมัยปัจจุบัน
เพราะมีความเป็น “มิตรแท้” พร้อมบริบูรณ์ สามารถปิดป้อง”
ทิศของตนได้ครบ 5 ทิศ
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า หมู่บ้านในสมัยบรรพบุรุษไทย
โบราณของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชนบท มีผู้นำที่มีคุณสมบัติ
ของคนดี มีคณะผู้ร่วมงานเป็นบัณฑิตหรือมิตรแท้ มีพระภิกษุ
ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมเป็นกัลยาณมิตร ผู้คนในหมู่บ้านจึงพลอย
มีโอกาสพัฒนาลักษณะนิสัยของ “มิตรแท้” โดยถ้วนทั่วกัน
สามารถปิดป้องทิศ 5 ของตนได้ครบ ผู้คนในหมู่บ้านจึงอยู่ร่วมกัน
ด้วยความรักสามัคคี แม้จะมีฐานะไม่ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี
พันล้านหมื่นล้านดังในสมัยปัจจุบัน แต่ก็ไม่มีคนอดตาย เพราะ
คนที่มีมาก ย่อมแบ่งปันอุดหนุนเกื้อกูลคนที่มีน้อย ทำให้ไม่เกิด
ช่องว่างระหว่างชนชั้น แต่ละคนในหมู่บ้านรู้จักกันดี ผู้ใหญ่แต่ละ
คนจะมองเด็กๆ บ้านอื่นเหมือนลูกหลานของตน สามารถดุด่าว่า
กล่าวสั่งสอนแทนพ่อแม่ของเด็กได้ เพราะฉะนั้นเด็กแต่ละคนเมื่อ
อยู่พ้นสายตาพ่อแม่ก็ไม่กล้าทำผิด ทำชั่ว เพราะรู้ดีว่าตนอยู่ใน
สายตาของผู้ใหญ่ตลอดเวลา ผิดกับคนในสังคมปัจจุบัน โดย