คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 158
หน้าที่ 158 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงสถานการณ์การเงินของข้าราชการในประเทศไทยที่แม้จะมีเงินเดือนน้อย แต่กลับมีความร่ำรวยอย่างลึกลับ บางคนมีทรัพย์สินมากมายขณะที่ไม่มีมรดกตกทอด ทำให้เกิดคำถามว่า พวกเขาเหล่านี้แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมหรือไม่ รวบรวมการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเก็บออมและการสร้างความมั่งคั่งในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

หัวข้อประเด็น

-การเก็บออม
-การเงินของข้าราชการ
-ความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น
-ข้อสงสัยเกี่ยวกับความชอบธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๕๐ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ พุทธวิธีหรือไม่ก็ตาม เงินที่จะเก็บออมในส่วนที่สี่ ในแต่ละเดือนก็ จะมีเพียงเล็กน้อย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว นอกจากจะไม่มีการออมใน ส่วนที่สี่แล้ว เงินเดือนยังไม่ใคร่จะพอใช้อีกด้วย ดังที่มีสำนวนพูด กันติดปากว่า “ต้นเดือนไม่ชนปลายเดือน” จึงต้องกู้หนี้ยืมสินมา กินมาใช้กัน V Id อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้รับเงินเดือนประจำนี้ จะมีอายุ ราชการในการทำงานโดยได้รับเงินเดือน อย่างมากไม่เกิน ๔๐ ปี และถ้าสามารถเก็บออมเงินในแต่ละเดือนไว้ได้ โดยไม่มีการนำไป ใช้จ่ายเลยตลอดเวลา ๔๐ ปี สมมติว่าออมทรัพย์ไว้ได้โดยเฉลี่ย เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ในช่วงเวลา ๔๐ ปี คงจะมีเงินสดออม ไว้ได้ประมาณ ๔,๘๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านแปดแสนบาท) ถ้าฝาก ธนาคารมีดอกเบี้ยก็คงได้รวมกันทั้งหมดไม่เกิน ๑๐,000,000 บาท แต่ความจริงที่ปรากฏก็คือ ข้าราชการระดับสูงจำนวนหนึ่งทั้งๆที่ ไม่มีมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ มีเงินเป็นร้อยๆล้าน นักการเมือง ที่เข้ามามีตำแหน่งรัฐมนตรีเพียง ๒-๓ ปี มีเงินหลายสิบล้าน เปลี่ยนจาก ส.ส. ที่เคยยากจนและไม่มีสมบัติอะไร มาเป็นเศรษฐี และถ้ามีโอกาสเป็นรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง ก็จะมีเงินหลายร้อยล้าน ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจก็เช่นเดียวกัน บางคนทั้งๆ ที่ไม่ เต้าขึ้นมาจากพนักงานจนๆ ต้องเช่าบ้านอยู่ ครั้นเมื่อมีตำแหน่งสูงๆ ก็มีเงินหลายสิบล้าน มีคฤหาสถ์ใหญ่โตโอฬารอยู่อาศัย มีที่ดินทั้ง ในเมืองใหญ่เมืองเล็กหลายแปลง ฯลฯ ถามว่า คนเหล่านั้นแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม หรือไม่ ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More