ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๙๐
คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ
เวลาแห่งการเป็นบรรพชิต ยิ่งบวชนาน ก็ยิ่งอ่านหนังสือได้แตกฉาน
มาก ขณะเดียวกันก็สามารถเขียนเรื่องราว ต่างๆ ได้ บางท่าน
อาจแต่งคำประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนได้ และที่แน่ๆคือ
เขียนลายมือบรรจงได้สวยมาก เพียงได้เห็นลายมือที่สวยงาม
พอจะประเมินความรู้กันได้แล้วว่า ไม่ใช่ธรรมดา
นอกจากมีภูมิรู้ดีแล้ว ยังมีภูมิธรรมสูงอีกด้วย เพราะ
หนังสือที่ใช้ร่ำเรียนเขียนอ่าน คือ พระไตรปิฎก และหนังสือปลูก
ฝังคุณธรรม ขณะเดียวกันก็มีโอกาสได้รับการฝึกอบรมวิชา
พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติอีกด้วย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ผู้ที่เข้า
มาบวชอยู่หลายๆพรรษาจะขาดประสบการณ์ด้านปฏิเวธ ผิดกับ
พระภิกษุในปัจจุบัน ที่ให้น้ำหนักการศึกษาในเรื่องปริยัติมากเสีย
จนมองข้ามความสำคัญในด้านปฏิบัติ หรือมีเวลาสำหรับการ
ปฏิบัติสมาธิภาวนาน้อยเกินกว่าจะเกิดผลเป็นปฏิเวธ จึงเกิดความ
สงสัยในเรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน อันเป็นเหตุให้ละเมิดพระธรรม
วินัย หรือมิฉะนั้นก็เทศน์สอนชาวบ้านว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรก
อยู่ในใจ” โดยไม่มีการขยายความต่อ ชาวบ้านฟังกันแล้ว ก็ยัง
งงๆ ไม่กล้าถามกลับ เพราะเกรงจะถูกหาว่าโง่เง่า
สําหรับชายหนุ่มคนใดที่ยังไม่ได้บวชเรียน ผู้คนในชุมชนก็
จะถือว่ายังเป็น “คนดิบ” อยู่ ยังไม่ได้รับความไว้วางใจเหมือน
“คนสุก” หรือ “คิด” ยังไม่มีใครอยากรับไว้เป็นลูกเขย หรือเป็น
หัวหน้าครอบครัว ดังนั้น ชายหนุ่มที่มีสติปัญญา ก็จะขวนขวาย
อุปสมบทเมื่ออายุครบเกณฑ์ การบวชของชายไทยสมัยโบราณจึง
กลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน