คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 195
หน้าที่ 195 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างสังคมใหม่ในประเทศไทยโดยบรรพบุรุษที่ฟื้นฟูชุมชนเกษตรที่เสื่อมโทรม ผ่านการสร้างหมู่บ้านใหม่ที่รวมพลังสามัคคีกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำไปสู่การสร้างวัดเป็นศูนย์รวมของชุมชน หากมีผู้นำที่ดีและพระภิกษุที่เป็นกัลยาณมิตร หมู่บ้านก็จะเจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าเป็นผู้นำที่ไม่ดี จะนำไปสู่ความยากจนและการแตกสลายของชุมชน.

หัวข้อประเด็น

-การฟื้นฟูสังคมไทย
-การสร้างหมู่บ้านใหม่
-ความสำคัญของวัดในชุมชน
-บทบาทของผู้นำและพระภิกษุ
-การสนับสนุนและช่วยเหลือกันในชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๘๘ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ การสร้างสังคมใหม่ของบรรพบุรุษไทย เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรมาแต่ครั้งโบราณกาล เมื่อสังคมเก่าฟอนเฟะจนยากที่จะฟื้นฟูแล้ว บรรดาบุคคลที่มีทัศนคติ และทิฏฐิใกล้เคียงกัน และไม่ต้องการทนทุกข์อยู่ในสังคมที่ตกต่ำนั้น ก็จะพากันไปสำรวจท้องที่ใหม่ แล้วร่วมพลังสามัคคีกัน ก่อสร้าง หมู่บ้านขึ้นมา ดำเนินอาชีพเกษตรกรรม แลกเปลี่ยนสิ่งของ ค้าขาย ช่วยเหลือจุนเจือกันอยู่ในหมู่บ้าน ด้วยความสามัคคีปรองดองกัน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ของหมู่บ้านก็คือ “วัด” ชาวบ้านจะร่วมใจร่วมแรง กันสร้างวัดขึ้นเป็นศูนย์รวมของคนในหมู่บ้าน แล้วนิมนต์พระภิกษุ ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมที่ตนเคารพนับถือไปประจำอยู่ที่วัดซึ่งสร้างใหม่ หรือมิฉะนั้นก็ขอร้องให้ท่านสรรหาจัดส่งพระภิกษุคุณภาพไปแทน ซากวัดปรักหักพังที่ปรากฏกระจายอยู่มากมายทั่วแผ่นดินไทยนั้น ย่อมเป็นหลักฐานสนับสนุนเรื่องที่กล่าวนี้เป็นอย่างดี หมู่บ้านใหม่นี้ ถ้ามีคณะผู้นำเป็นคนดีมีความสามารถ มี พระภิกษุเป็นกัลยาณมิตรปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้ หมู่บ้านนั้นก็จะ ปลอดจากอบายมุข และเจริญรุ่งเรืองไปตามลำดับๆ ในทำนองกลับกัน ถ้าคณะผู้นำหมู่บ้านเป็นมิตรเทียม ขาดพระภิกษุที่เป็นกัลยาณมิตร คนในหมู่บ้านนั้นก็จะจมอยู่กับ อบายมุข ในที่สุด หมู่บ้านนั้นก็จะร้างไปโดยปริยาย เพราะผู้คน ต่างเบียดเบียนกัน มีหนี้สิน ล้นพ้นตัว อดอยากยากจน จึงทน อยู่ไม่ได้ ต้องระเหเร่ร่อนไปหาที่พักพิงใหม่ต่อไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More