ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๓๒
คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ
ถ้าปฏิบัติได้เช่นนี้ แต่ละฝ่ายก็จะเป็นคนดีพร้อม ไม่มี
ลักษณะนิสัยเลวๆ ของมิตรเทียมหลงเหลืออยู่เลย นั่นคือ ทุกคน
ในสังคมจะเป็นคนดีหรือมิตรแท้กันหมด
ความคิดเช่นนี้ย่อมเป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น ยากต่อ
การลงมือปฏิบัติจริง เป็นเรื่องพูดง่ายแต่ท่ายาก ส่วนที่ยากก็คือ
การกำจัดหรือป้องกันข้อเสียไม่ให้แพร่ระบาดออกไป เพราะตาม
ธรรมดา ใจคนที่ยังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้าพอ ย่อมเพลี่ยงพล้ำต่อ
อ้านาจกิเลสเสมอ การกำจัดหรือกันกิเลสมีให้หลุดไปจากใจได้นั้น
ต้องมีความอดทนสูงพอจึงจะทำได้ ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนอบรม
ในเรื่องความอดทนมาดีพอและต่อเนื่อง จะไม่สามารถกำจัดกิเลส
ในตนเองหรือกันกิเลสมีให้แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้เลย
บ
แต่การที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดหน้าที่ให้แต่ละคนในทิศ 5
เช่นนี้ ย่อมเป็นการฝึกปลูกฝังลักษณะนิสัยของคนดีไปพร้อมๆกับ
การฝึกความอดทนต่ออ่านาจกิเลส คือนับตั้งแต่พ่อแม่ฝึกให้ลูกทำสิ่งดีๆ
ตั้งแต่ยังเล็ก ชี้ให้ดูว่าสิ่งใดบ้างเป็นเรื่องชั่วแล้วก็ต้องไม่ทำ เมื่อไปโรงเรียน
ครูก็สอนให้ทําดีๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พระภิกษุก็ยังเน้นย้ำให้ทำดีใน
ระดับสูงขึ้นต่อไปอีก ครั้นเมื่อประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของคนดีตามที่ทรง
กำหนดไว้ให้แต่ละทิศจนคุ้นแล้ว คนเราย่อมมีความละอายและความ
กลัวบาปต่อการที่จะประพฤติในสิ่งที่ไม่ดีงาม ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะ ไม่
สมควรหรือสิ่งที่เป็นบาป จึงไม่แสดงพฤติกรรมของมิตรเทียมออกมา
เพราะฉะนั้นหน้าที่ต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในทิศ 5 นี้ คือ
ระบบฝึกคนที่มีประสิทธิภาพยิ่ง อาจกล่าวสั้นๆ ได้ว่า ทิศ 5 คือ
กลวิธีในการสร้างคนดีและความสามัคคีให้แก่สังคมอย่างแท้จริง