คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ: ธรรมชาติของใจคน คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ หน้า 47
หน้าที่ 47 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอธรรมชาติของใจคนที่มีผลต่อคุณลักษณะและความสุขของบุคคล โดยอ้างอิงแนวคิดจากพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับบทบาทของใจในการนำไปสู่ความดีและความสุข การกระทำและคำพูดของเราขึ้นอยู่กับการคิดในใจ ถ้าคิดดีพูดดีทำดี ชีวิตก็มีความสุข ในทางตรงกันข้าม คนที่มีใจร้ายย่อมมีชีวิตที่ขาดความสุข แม้ว่าจะพยายามปกปิดความทุกข์ก็ตาม พระพุทธเจ้าตรัสว่า 'ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า' จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ควรใส่ใจในการพัฒนาจิตใจให้ดี เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น และลดความทุกข์ที่เกิดจากใจหยาบ.

หัวข้อประเด็น

- ธรรมชาติของใจ
- ลักษณะใจคน
- ความสำคัญของใจ
- การพัฒนาจิตใจ
- ผลกระทบของใจต่อชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๘ คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ ธรรมชาติของใจคน บน ส่วน คนเราจะดีหรือร้าย จะสุขหรือทุกข์ จะน่ารักหรือน่ารังเกียจ นั้นอยู่ที่ใจ ถ้าใจคิดดี การพูด การกระทำก็พลอยดีตามไปด้วย จึงเป็นคนน่ารัก น่าคบหาสมาคม และตนเองก็มีความสุข คนที่ใจคิดร้าย การพูด การกระทำย่อมมีแต่ร้ายๆ ทั้งสิ้น จึงเป็น คนน่ารังเกียจ ไม่น่าเข้าใกล้ ไม่น่าคบหาสมาคม ตัวเองก็ขาดความสุข แม้จะพยายามปกปิดความทุกข์ไว้ในใจ ไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น แต่ตนเองย่อมรู้ดีว่ามีความทุกข์สุมอยู่ในใจ โดยเหตุนี้ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าจึงตรัสแสดงว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จ ด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมตามเขาไป ดุจล้อหมุนตามรอยเท้าโค ผู้ลาก แอกไปอยู่ฉะนั้น ...ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น” ต จากพุทธภาษิตนี้ ย่อมเห็นได้ว่าใจคนเรามีอยู่ ๒ ลักษณะ เท่านั้น คือ ใจร้ายกับใจผ่องใส คนใจร้ายก็คือ คนที่มีใจหยาบ คนใจผ่องใสก็คือ คนที่มีใจละเอียด เหตุใดคนจึงมีใจหยาบ? มีสาเหตุมากมายที่ทำให้คนใจหยาบ มีทั้งเหตุภายนอกและ เหตุภายใน สาเหตุภายนอกก็คือ สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นธรรมชาติ ๗ ยมกวรรควรรณนา ขุ.ธ.มก. ๔๐/๑๑/๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More