ความกลัวและการปรับตัวในสถานการณ์เลวร้าย บันทึกอุปัฏฐาก หน้า 182
หน้าที่ 182 / 349

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้ ผู้เขียนเกิดความรู้สึกกลัวจากการบิดเบือนข่าวคล้ายกับการถูกโจมตีจากฝูงผึ้ง จึงมีการคิดหาวิธีป้องกัน และมีข้อเสนอให้ใช้วิทยุสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถึงแม้จะไม่ถนัดในการใช้และไม่รู้ว่าจะต้องเอาไว้ทำไม แต่ก็เกิดการสนุกสนานในการคิดค้นรหัสใหม่เพื่อติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม ในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 ซึ่งสะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์ในยามวิกฤต.

หัวข้อประเด็น

-การปรับตัวต่อสถานการณ์เลวร้าย
-ความกลัวและการป้องกัน
-การสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน
-ความคิดสร้างสรรค์ในกลุ่ม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดี ก็มี ไม่ดี ก็ มาก ผมกังวลกับการบิดเบือนข่าว มันทำให้ผมรู้สึกกลัว พวกเขาเหมือนฝูงผึ้ง ที่จ้องมารุมต่อย ความกลัวทำให้ต้องคิดที่จะป้องกันฝูงผึ้ง ถ้าพวกเขากรุ่บเข้ามาถ่ายรูป ผมจะถือر่มกันไว้และบังไว้ ----------- มีคนบอกว่าให้ผมเอาวิทยุติดตัวไว้ว่ด้วย เวลาฉุกเฉินขึ้นมา จะได้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้ ผมใช้วิทยุไม่เป็น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า จะเอาติดตัวไว้ว่าทำไม เคยทดลองใช้แล้ว เขาให้กดปุ่มค้างไว้ แล้วบอกให้ผมพูดได้เลย พอกดปุ่ม ฮัลโหล ผมโคะนะ ได้ยินผมไหม? ได้ยินแล้วตอบด้วย--เปลี่ยน! เสียง...ไม่มีเสียงตอบ คนที่อยู่ข้าง ๆ หัวเราะกันใหญ่--หัวเราะผมทำไม? พุธที่ 4 สิงหาคม 2542 สถานการณ์เล่าหลาม ทำให้พวกเราถึงขนาดต้องประดิษฐ์คำไว้ใช้กันเอง ราวกับอยู่ในสนามรบ แต่ก็สนุกดี เพื่อความปลอดภัย มีคนเสนอให้ใช้รหัสในการสื่อสาร พี่คนหนึ่งเลยเปลี่ยนชื่อให้ผมใหม่ จากชื่อ น้องโค้ก เปลี่ยนให้เป็น น้องขวด! พี่อีกคนบอกว่า ชื่อน้องขวด เขียนพอเดาออกได้ว่าเป็นน้องโค้ก ควรจะใช้ชื่อใหม่ให้เดายากขึ้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More