ฆราวาสธรรมและความมั่นคงในครอบครัว ครอบครัวอบอุ่น หน้า 10
หน้าที่ 10 / 198

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของฆราวาสธรรมในการสร้างความมั่นคงในครอบครัว โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาหลักสี่ประการที่เกิดขึ้นในครอบครัว เมื่อขาดการศึกษาและความเข้าใจในฆราวาสธรรม ปัญหาเหล่านี้รวมถึงความหวาดระแวงกัน, ความโง่เขลา, ความเบื่อหน่าย, และความเห็นแก่ตัว ซึ่งทั้งสี่ข้อนี้สามารถสร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาได้มากมาย การทำความเข้าใจและศึกษาเกี่ยวกับฆราวาสธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในครอบครัว เพื่อให้สามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆ ก่อนจะเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยส่งเสริมการสร้างบรรยากาศที่ดีภายในครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-ฆราวาสธรรม
-ความมั่นคงในครอบครัว
-ปัญหาภายในครอบครัว
-การศึกษาและการปรับปรุงตัว
-ความไว้วางใจกันในครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ข้อความต่อไปนี้ เป็นเรื่องสําคัญของทุกครอบครัว ใครจะแต่งงาน มีลูก มีภรรยา มีสามี จะต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะปัญหาใน การครองเรือน ก็ล้วนวนเวียนอยู่ในเรื่องเหล่านี้ ถ้าศึกษาแตกฉาน แล้ว จะให้ประโยชน์มาก แต่ถ้าขาดการศึกษา ก็จะพบปัญหาครอบครัวอีก สารพัด เรื่องนั้นก็คือ “ฆราวาสธรรม หัวใจสำคัญของความมั่นคงใน ครอบครัว" ปัญหาประจําครอบครัว คนแต่ละคนก่อนจะมาแต่งงาน ก็มีปัญหาจากข้อบกพร่องประจำ ตัวกันอยู่แล้ว แต่เมื่อมารวมเป็นครอบครัว ก็หลีกไม่พ้นที่ข้อบกพร่อง ของแต่ละคนจะก่อความกระทบกระทั่งต่อกัน ดังนั้น ถ้าครอบครัวไหน ก็ตาม ขาดฆราวาสธรรมแม้ข้อหนึ่งข้อใด คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ครอบครัวย่อมต้องเกิด ๔ ปัญหาใหญ่อย่างแน่นอน นั่นคือ ๑) ปัญหาความหวาดระแวงกันและกัน ๒) ปัญหาความโง่เขลา ไม่ทันโลก ทันคน ทันกิเลส ๓) ปัญหาความเบื่อหน่ายกันเอง ๔) ปัญหาความเห็นแก่ตัว ปัญหาใหญ่ๆ ๔ เรื่องนี้ ทางที่ดีที่สุดคือ อย่าให้เกิดขึ้นในครอบครัว ได้ หรือถ้าเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ต้องรีบช่วยกันหาทางแก้ไข อย่าปล่อยให้ หมักหมมคั่งค้างลุกลามใหญ่โต เพราะปัญหาทั้ง ๔ ข้อนั้น มันเป็นต้น ตอที่สร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาอีกมากมายไม่รู้จบ ปัญหาแรก ความหวาดระแวง ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน โลกปัจจุบันนี้ แม้อยู่ในครอบครัวเดียวกันก็มีโรคชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ประจํา นั่นคือ โรคหวาดระแวง แม้เป็นสามีภรรยากันแล้วก็มิวายหวาดระแวงกันเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่เป็นพี่น้องคลานตามกันมาก็ยังระแวงกัน แม้ที่สุดพ่อแม่กับลูก ก็ ยังมิวายหวาดระแวงกัน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องพูดถึงคนอื่น ที่ไม่ได้มีสาย เลือดเดียวกัน ไม่ใช่คนในครอบครัว จะไม่เป็นโรคหวาดระแวงกัน สาเหตุที่หวาดระแวงกันมีหลายอย่าง บางทีก็หวาดระแวงเพราะ ความอิจฉาริษยา บางทีก็หวาดระแวงเพราะลำเอียง บางทีก็หวาดระแวง เพราะอีกฝ่ายเอารัดเอาเปรียบ และที่ร้ายแรงคือ หวาดระแวงเพราะเขา ขาดความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะระแวงเพราะเหตุใดก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คือยิ่งอยู่ร่วมกัน นานเท่าใด ปัญหาความระแวงกันในครอบครัวก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ปัญหาที่สอง ความโง่เขลา ไม่ทันโลก ทันคน ทันกิเลส ปัญหานี้เกิดจากสติปัญญา ความรู้ ความสามารถไม่เท่าเทียมกัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า โรคโง่ บางคนคิดจะทำอะไรมักไม่ทันคนอื่นในครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่ ความไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ของโลก สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ไม่ทัน ไม่ใช่เพราะโง่อะไรนักหนา แต่เพราะคนอื่นในครอบครัวเขาปรับปรุงตัว อยู่ตลอดเวลา เขาพัฒนาตัวเองไม่ได้หยุด ส่วนตนเองไม่ยอมปรับปรุง แก้ไขเลย เคยอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เป็นประเภทใครๆ ก็เป็นไม่ขึ้น คนประเภทนี้เองที่มักจะคิดน้อยใจโชคชะตา น้อยใจพี่น้องน้อยใจ พ่อแม่ น้อยใจสามี น้อยใจภรรยาว่าไม่รัก เลยไปจนกระทั่งน้อยใจลูกว่า ไม่รักตนอีกด้วย แล้วก็ก่อปัญหาแตกความสามัคคีในครอบครัว ศ w น้ำส
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More