ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑. ฝึกลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน เมื่อลูกขอเงินต้องซักถามให้
ละเอียดก่อนว่า จะเอาเงินนี้ไปทำอะไร มีความจำเป็นแค่ไหน ถึงต้องใช้
เงิน ถ้าลูกขอโดยไม่มีเหตุผล ก็ไม่ควรให้ ต้องชี้แจงให้ลูกทราบด้วยว่า
เพราะเหตุใดจึงไม่ให้ แม้ลูกจะไม่พอใจก็ทำใจแข็งไว้ อย่าให้เงินลูกเพื่อ
ติดความรำคาญ อย่าให้ลูกมีความคิดว่า เงินได้มาอย่างง่ายๆ ต้องสอน
ให้ลูกรู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่พ่อแม่หามาได้ หมายถึงหยาดเหงื่อแรง
กายของพ่อแม่ ลูกจะได้รู้คุณค่าของเงิน และใช้เงินอย่างคุ้มค่า
๒. ฝึกให้เว้นของฟุ่มเฟือย สิ่งใดที่เป็นของฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็น
พ่อแม่อย่าซื้อหาให้ลูก ถ้าขัดไม่ได้ ก็หาอย่างอื่นที่ราคาไม่แพง แต่ใช้ทด
แทนกันได้มาให้ หาวิธีอธิบายให้ลูกรู้ว่าของดีไม่จำเป็นต้องราคาแพง ฝึก
ให้ลูกรู้จักใช้ของอย่างคุ้มค่า ให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ไม่ใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ
เมื่อของเสียหายต้องสอนให้รู้จักซ่อมแซมของนั้นด้วยตัวเอง
๓. ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สอนลูกให้รู้จักทำ
ของใช้เอง เป็นการเสริมสร้างปัญญาให้ลูก โดยเฉพาะของเล่น ให้ลูก
รู้จักประดิษฐ์ขึ้นเอง หรือประกอบจากชิ้นส่วนเอง ลูกจะได้รู้จักช่วยตัว
เองเป็น และมีความภาคภูมิใจในความสำเร็จ มีกำลังใจสูงขึ้น นอกจาก
นั้นควรฝึกให้ลูกรู้จักวิธีตัดทอนงบประมาณค่าใช้จ่ายของลูกเอง เพื่อลูก
จะได้รู้จักวิธีอดออม และรู้จักทํางานให้เงินได้ด้วยตัวเอง
๔. ฝึกลูกให้รู้จักเก็บออมทรัพย์หากระป๋องออมสินให้ลูกสำหรับ
เก็บเงินที่เหลือจากค่าขนม หรือค่าใช้จ่ายประจำ พาลูกหรือสอนลูกให้
เอาเงินที่เก็บออมได้ไปฝากเข้าบัญชีในธนาคาร เมื่อลูกได้เงินพิเศษจาก
ผู้ใหญ่ในวันสำคัญของลูก เช่น วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ พ่อแม่ควร
สอนให้ลูกเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในธนาคาร เพื่อเป็นทุนการศึกษา อย่าให้ลูก
รู้สึกว่าเงินนี้ได้มาง่าย เพราะจะเป็นเหตุให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของเงิน
๔. เลือกเพื่อนที่มีนิสัยประหยัดให้ลูกคบ เพื่อนที่มีนิสัย
ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักค่าของเงิน ต้องหาวิธีป้องกันอย่าให้ลูกไป
คบหาสมาคมด้วย ส่วนเพื่อนคนไหนรู้จักเก็บหอมรอมริบ ช่วยพ่อแม่
ทำงานแบ่งเบาภาระทางบ้าน ต้องให้ลูกรู้จักคบหาเอาไว้ จะได้ชวนกัน
ประหยัด และชวนกันไปในทางที่ดี ที่สำคัญคือเป็นการป้องกันลูกให้ห่าง
ออกจากคนพาลและอบายมุข ซึ่งเป็นศัตรูร้ายของความประหยัดที่แสน
น่ากลัว
5. ฝึกให้ลูกรู้จักรักษาศีล ๘ ในวันพระ หรือวันหยุด เมื่อเห็น
ว่าลูกโตพอสมควรแล้ว ควรพาไปวัด หัดให้รู้จักรักษาศีล ๘ เพื่อให้ลูกรู้
ว่า บางสิ่งที่เราคิดว่าจําเป็นสำหรับชีวิตนั้น แท้จริงเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เช่น
การดูหนัง ดูละคร แต่งหน้า ทาปาก แต่งตัวตามแฟชั่น สิ่งเหล่านี้ เมื่อ
ทดลองรักษาศีล ๘ สักระยะหนึ่ง แล้วจะรู้ด้วยตัวเองว่าไม่จำเป็นเลย
และเพื่อให้ได้ผลดีพ่อแม่ต้องรักษาศีล ๘ เป็นตัวอย่างให้ลูกดูด้วย การ
รักษาศีล ๘ จะช่วยให้ลูกมีนิสัยประหยัด และรู้จักประมาณในการใช้ปัจจัย
๔ เพื่อการดำรงชีวิตได้เอง
หากทุกครอบครัวทำได้อย่างนี้ ย่อมเป็นหลักประกันความมั่นคง
ด้านเศรษฐกิจของครอบครัวต่อไปภายหน้า ทรัพย์สมบัติที่พ่อแม่มอบ
ให้เป็นมรดกก็จะไม่ถูกไปใช้ในทางวอดวายเสียหาย หรือถึงแม้พ่อแม่
อาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติมอบเป็นมรดกให้แก่เขาเลย ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่า
เขาจะสามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเองได้อย่างแน่นอน
เพราะจุดรั่วไหลทางอบายมุขไม่มี
leoa! gelift wh
ค
look! Reglige