ปัญหาความเบื่อหน่ายกันเองและความเห็นแก่ตัวในครอบครัว ครอบครัวอบอุ่น หน้า 11
หน้าที่ 11 / 198

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงสองปัญหาหลักในครอบครัว ได้แก่ ความเบื่อหน่ายกันเอง ซึ่งเป็นโรคเบื่อคนที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวไม่มีการตักเตือนหรือแนะนำกัน และความเห็นแก่ตัว ที่ก่อให้เกิดการแตกแยกในครอบครัว รวมถึงการไม่แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่กัน การดำรงชีวิตในครอบครัวจึงจำเป็นต้องเปิดใจและอนุญาตให้มีการตักเตือนและให้คำแนะนำ เพื่อรักษาความเข้มแข็งในครอบครัว และแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด โดยการเข้าใจหัวใจของการเป็นครอบครัวนั้นสำคัญมาก.

หัวข้อประเด็น

- ปัญหาความเบื่อหน่ายในครอบครัว
- โรคเบื่อคน
- ความเห็นแก่ตัวในครอบครัว
- การอยู่ร่วมกันอย่างมีสุข
- แนวทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปัญหาที่สาม ความเบื่อหน่ายกันเอง ปัญหาความเบื่อหน่ายกันเอง อาจเรียกง่ายๆ ว่าโรคเบื่อคน ผู้พิพากษาสมทบท่านหนึ่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่เล่าว่า ในอดีตเมื่อ ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีทำผิด ศาลจะส่งตัวไปไว้สถานพินิจ เพื่อ ควบคุมความประพฤติ ทันทีที่ศาลสั่ง พ่อแม่ก็จะมาร้องห่มร้องไห้ ขอ เอาตัวกลับไปอบรมฝึกหัดขัดเกลาเอง ลูกจะเลวจะชั่วอย่างไรก็ยังรักยัง ห่วงลูก ขอดูแลแก้ไขด้วยตนเอง ไม่ไว้ใจให้ใครอบรมลูกแทน เพราะ เกรงว่าจะทําได้ไม่ดีพอ แต่เดี๋ยวนี้พอลูกทำผิดขึ้นมา ศาลตามตัวพ่อแม่มาถามว่า “ลูก คุณทําความผิดจะว่าอย่างไร พ่อแม่รีบตอบเลย ก็แล้วแต่ศาล ทําอะไรได้ก็ทําไปเถอะ เหม็น เบื่อมันเต็มที่ไม่รู้จะทำยังไงกับมันแล้ว” เรื่องมันกลายเป็นอย่างนั้นไปแล้ว ในสังคมยุคปัจจุบัน มีคนเบื่อแม้กระทั่งลูกของตัวเอง แม้เป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกัน ก็ต้องระวังอย่าให้มีโรคเบื่อ กันเอง ถ้าในครอบครัวของเรามีใครทำอะไรไม่ถูกต้อง แล้วคนในบ้าน เบื่อที่จะตักเตือน เบื่อที่จะพร่ำสอน เบื่อที่จะแนะนำ ก็จะกลายเป็นต่าง คนต่างอยู่ ไม่ได้มีการถ่ายทอดคุณธรรมความดีให้กันและกัน คุณธรรม ความดีทั้งของเราและของเขาก็จะไม่เพิ่มพูนขึ้น ความเบื่อหน่ายกันเอง จะเป็นลางแห่งความหายนะของครอบครัว เพราะไม่ช้าจะถึงจุดหนึ่งที่ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างตักเตือนกันไม่ได้ เมื่อเตือนกันไม่ได้ ก็เลยไม่รู้จะทนกันไปทำไม การทะเลาะเบาะ แว้งด่าทอ ลงไม้ลงมือกันก็ตามมา การอยู่ร่วมกันในครอบครัวควรที่จะเปิดใจอนุญาตให้แต่ละคนใน ครอบครัวเอ่ยปาก ตักเตือนตนเองได้แต่เนิ่นๆ ถ้าหากเห็นว่าทำอะไรไม่ถูก ไม่ควร ไม่โปร่งใสพอ ก็ให้รีบตักเตือน ดีกว่ารอให้ทนไม่ไหวก่อน แล้ว ค่อยมาพูดกัน นั่นก็กลายเป็นเอาภูเขาไฟสองลูกมาระเบิดพร้อมกันนี่เอง ปัญหาที่สี่ ความเห็นแก่ตัว ปัญหาความเห็นแก่ตัว อาจเรียกง่ายๆ ว่า โรคแล้งน้ำใจ ธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไปว่าเมื่อไรก็ตามที่มีการอยู่ร่วมกันเกินสาม คนขึ้นไป จะเริ่มมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เมื่อในครอบครัวมีการแบ่ง พรรคแบ่งพวกเสียแล้ว หากได้ข้าวของพิเศษอะไรมา ก็จะคำนึงถึงแต่ ประโยชน์ของพรรคพวกในบ้านของตัวเองก่อน อีกฝ่ายจะเดือดร้อน ลำาบากอย่างไร ไม่สนใจ ถ้าสถานการณ์เลวร้ายหนักเข้าๆ แม้พี่น้องคลาน ตามกันมา มันก็แตกกันเอง เพราะเชื้อแห่งความเห็นแก่ตัวได้เข้าห่อหุ้ม จิตใจจนมืดมิด ถึงคราวได้ลาภผลน้อยใหญ่อะไรมา ก็จะไม่ยอมปันกันกินปันกัน ใช้ในครอบครัว หาซ้ำยังเอารัดเอาเปรียบคนอื่นๆ ในครอบครัวอีก ใน ที่สุดครอบครัวก็จะแตกแยกเพราะความแล้งน้ำใจ แล้ววันหนึ่งความ แตกแยกก็จะลุกลามใหญ่โต กลายเป็นความล่มสลายของครอบครัว ฆราวาสธรรม หัวใจครอบครัว เมื่อใครก็ตามคิดจะเลือกคู่ชีวิต หรือคิดจะแต่งงานเป็นสามีภรรยา อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ก็ต้องเตรียมใจว่าไม่สามารถหลบหลีก ๔ ปัญหาหลักดังกล่าวได้ การแก้ไขป้องกันปัญหานี้ แม้ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีทางแก้ไข หรือป้องกัน เพราะหากแต่ละคนรู้ว่าหัวใจของครอบครัวคืออะไร และ ทุกคนก็ตั้งใจดูแลหัวใจครอบครัวอย่างดีที่สุดแล้ว ในที่สุดปัญหาเหล่านี้ ก็จะหมดไป b ค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More