ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตาของคนเราก็เหมือนกัน ต้องหัดทําตาให้เหมือนกับตาไม้ไผ่ด้วย
เพราะหัวใจสำคัญของการมองเห็น คือ นัยน์ตาของเรานั้น อะไรที่ไม่ควร
ดูก็อย่าไปดู ไม่เที่ยวไปสอดรู้สอดเห็นเรื่องของชาวบ้านมากนัก ไม่
จับผิดเอาเรื่องกับใคร หรือไปทําตาหวานทอดสะพานให้แก่ใคร เพราะ
จะกลายเป็นน่าเรื่องร้อนตาพาร้อนใจเข้ามาในบ้าน
คนที่ควบคุมตาของตัวเองได้อย่างนี้ ใจย่อมสงบขึ้นอีกมาก และ
มีสติอยู่กับตัว เวลาคิดสิ่งใด ก็คิดได้แต่เรื่องที่ดีงาม คำพูดที่ใช้กันใน
บ้านจึงมีแต่เรื่องที่พาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจให้แก่กันและกัน
ใครที่สำรวมดวงตาได้อย่างที่ปู่ย่าตาทวดแนะนำนี้ ก็ย่อมมีความ
สามารถในการมองแบบจับถูก ไม่มองแบบจับผิดคิดร้ายในทางใด และ
ไม่สร้างปัญหาชู้สาวตามมาอีกด้วย เท่ากับเป็นการป้องกันการกระทบ
กระทั่งทางดวงตา และประคับประคองใจให้สงบเย็นเป็นปกติไปในตัว
ดังนั้น การควบคุมใจให้สงบผ่านทางตาด้วยการฝึกทำตาเหมือน
ตาไม้ จึงเป็นการยกระดับใจให้งดงาม เป็นคาถาป้องกันการหย่าร้างเป็น
ชั้นที่ ๑
๒) หูเหมือนหูกระทะ หมายถึง การเลือกฟังในสิ่งที่ควรฟัง
ไม่ใช่เอาหูไปคอยตามฟังเรื่องราวความเดือดร้อนเสื่อมเสียของผู้อื่น
หรือคอยจ้องจับผิดว่ามีใครมาแอบนินทาลับหลังบ้าง หรือหากใครมา
พูดใส่ความใครให้ฟัง ก็ไม่ใช่หูเบาเชื่อเขาโดยง่าย ควรพิจารณา
ไตร่ตรองให้รอบคอบ ฟังหูไว้หู หากเห็นไม่มีประโยชน์ก็ควรรีบเปลี่ยน
เรื่องสนทนา มิฉะนั้น นอกจากตัวเราจะกลายเป็นคนโฉดเขลาเบา
ปัญญาแล้ว ยังจะติดนิสัยมีนิสัยชอบจับผิดนินทาชาวบ้านจากเขาไปด้วย
ซึ่งนับเป็นโทษต่อการเพิ่มพูนคุณธรรมความดีของตัวเองอย่างมหันต์
ปู่ย่าตาทวดของเรา ท่านไม่อยากให้ลูกหลานเป็นคนโฉดเขลาเบา
ศ
ปัญญา วันๆ ไม่ลงมือทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ชอบแต่ตะแคงหูจับผิด
ชาวบ้าน ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่มีทางเจริญก้าวหน้าอย่างเด็ดขาด ท่านจึงเตือน
ด้วยการอุปมาว่า หูเหมือนหูกระทะคือให้รู้จักเลือกฟังแต่สิ่งที่มีประโยชน์
เพื่อให้เกิดความรู้และความดีในจิตใจของตนเอง
เวลาเราเข้าครัวก็มองเห็นชัดว่า หน้าที่ของหูกระทะมีไว้สำหรับหิ้ว
หรือแขวน คุณค่าของหูกระทะจึงอยู่ที่การทำถูกหน้าที่ของมัน หูคนก็
เช่นกัน ไม่ได้มีไว้ฟังเรื่องนินทาว่าร้ายชาวบ้าน เพราะความเดือดร้อน
เสียหายของชาวบ้าน ไม่ได้มีส่วนทำให้เราเจริญก้าวหน้าขึ้นแต่อย่างใด
หูของคนเรามีไว้เลือกฟังในสิ่งที่เพิ่มพูนสติปัญญาและคุณธรรม
ความดีให้แก่ตัวเอง นี่จึงเรียกว่า ใช้หูถูกหน้าที่
ดังนั้น เมื่อได้ยินสิ่งใดมาเข้าหู ก็ต้องพิจารณาเลือกฟังให้ดี หาก
ได้ยินแล้วไม่เข้าท่าเข้าที ก็ต้องรู้จักทำหูตัวเองให้เป็นหูกระทะเสียบ้าง
เรื่องไม่เป็นเรื่องของชาวบ้านจะได้ไม่มารบกวนใจ
บางคนถูกเขาเอาไปนินทา บังเอิญตนเองไปได้ยินเข้าก็โกรธเป็น
ฟืนเป็นไฟ จะฆ่าแกงกัน ซึ่งถ้าเราทำหูเป็นหูกระทะเสียบ้าง ก็หมดเรื่องไป
เรื่องที่นินทาก็จะกลายเป็นลมเป็นแล้งไป
หรือถ้าเขาแอบเอาเราไปด่าลับหลัง เราไปได้ยินเข้า เราก็อย่าไป
เอามาเป็นอารมณ์ เขาด่าได้ก็ด่าไป ถ้าเราไม่ไปรับ ค่าเหล่านั้นมาไว้ในใจ
คำของเขาก็ต้องคืนไปหาตัวเขาเองนั่นแหละ เพราะเขาด่าเองก็ได้ยินเอง
คนเดียว
ปู่ย่าตาทวดท่านยังเตือนต่อไปอีกว่า คนเราถูกด่าแล้วไม่โกรธ อย่า
เพิ่งคิดว่าตัวเองเก่ง คนที่เก่งกว่านั้นคือ ชมแล้วไม่ยิ้ม ใครชมแล้วไม่ยิ้ม
มีแต่นิ่งสุขุม พิจารณาว่าทำไมเขาถึงมาชมเราและที่เขาชมนั้น ชมถูกหรือ
ผิด คนนี้คือคนเก่งจริงๆ
and