การรับรู้เกี่ยวกับพระภิกษุและสื่อมวลชน ครอบครัวอบอุ่น หน้า 184
หน้าที่ 184 / 198

สรุปเนื้อหา

ข่าวพระภิกษุที่ทำผิดวินัยส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของสังคมต่อพระสงฆ์ที่ดี การรายงานข่าวที่ลำเอียงทำให้ประชาชนเข้าใจผิด พระสงฆ์ที่ทำดีมีมากมาย แต่การรายงานข่าวพระผิดกลับมีความถี่มากกว่า ส่งผลให้พระสงฆ์ถูกมองในเชิงลบ และลดศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ผู้ที่สนใจศีลธรรมควรระวังการตัดสินใจโดยขาดการพิจารณาเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเข้าใจพระธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ข่าวพระภิกษุท่าผิด
-ผลกระทบต่อสังคม
-การรับรู้ของประชาชน
-การมองพระสงฆ์
-ความสำคัญของการพิจารณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประเด็นที่ ๒ หากหนังสือพิมพ์ลงข่าวพระภิกษุท่าความผิด ชาว พุทธอย่าคิดเหมารวมว่าพระภิกษุทั้งประเทศแย่เหมือนกันหมด การที่จะห้ามหนังสือพิมพ์ไม่ให้ประโคมข่าวพระภิกษุที่ทำผิดพระ วินัย เราก็คงจะห้ามหนังสือพิมพ์ได้ยาก เพราะเขามีอาชีพรายงานข่าว สารให้สังคมทราบ แต่ว่าถ้าหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เอาแต่ลงเฉพาะข่าว พระทําผิดเสียหาย เวลาพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ท่านทุ่มเทจัดกิจกรรม อบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน ก็ไม่ยอมประโคมข่าวให้เท่ากับเมื่อตอน ลงข่าวพระท่าผิด ก็ต้องถือว่าสื่อฉบับนั้นลำเอียงเกินไป มีความจริงประการหนึ่งที่ชาวพุทธไม่ค่อยจะได้คิดกัน ก็คือ พระพุทธศาสนาคงสืบทอดมาถึงวันนี้ไม่ได้ ถ้าพระภิกษุที่ดีมีน้อย แต่ เพราะทุกวันนี้ ในแต่ละวันมีพระภิกษุที่ออกมาทำหน้าที่ให้แก่สังคม กระจายอยู่ทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ แต่ว่าสื่อมวลชนไม่ค่อยน่ามารายงาน ผิดกับข่าวพระภิกษุท่าผิดพระวินัยอย่างรุนแรง สื่อจะชอบนำมารายงาน มากกว่า การให้เวลาข่าว ให้เนื้อที่ข่าว และให้ความถี่ในการออกข่าวพระ ภิกษุที่ตกเป็นจำเลยสังคมบ่อยๆ เช่นนี้ มากกว่าการออกข่าวพระภิกษุที่ ทำประโยชน์แก่สังคมนี้เอง เป็นสาเหตุให้ประชาชนส่วนมาก เข้าใจผิดว่า พระภิกษุส่วนมากไม่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม ยิ่งช่วงไหนที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวโจมตีพระอย่างหนัก โดยที่บาง ข่าวก็ไม่ได้เป็นความจริง พระภิกษุรูปอื่นจะเดินทางไปไหน ก็จะถูก จัดการด้วยสายตาในลักษณะส่วนเกินของสังคมอยู่ตลอดเวลา และมัก ถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ ทำนองจับผิดอยู่บ่อยๆ เรื่องเหล่านี้สะท้อนว่า การลำเอียงไม่ออกข่าวของพระภิกษุที่ท่า ความดีมากมายหลายแสนรูป มีผลทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาจาก พระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง พระผู้ใหญ่บางท่านที่ตั้งใจทำประโยชน์ให้แก่สังคมมาหลายสิบปี แต่ได้รับผลกระทบจากเรื่องเหล่านี้ ถึงกับเคยออกปากกับในทำนองที่ว่า “เดี๋ยวนี้ เวลาพระจะพูดเตือนอะไร ให้สังคมให้ได้คิด มันยาก เหลือเกิน ด้วย แม้แต่ความพยายามที่จะทำให้คนมีศีลธรรมก็ยังมีความผิดไป ผิดตรงไหน ผิดตรงที่ไปชวนเขาทำความดีได้ไม่ถูกใจสื่อมวลชน เวลาพระออกมาเตือน พระก็ถูกด่าว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ ไม่ต้อง ออกมายุ่ง แต่พอพระอยู่เฉยๆ ในวัด แล้วสังคมมีปัญหาขึ้นมา พระก็ถูก ด่าอีกว่า เป็นพระแล้วไม่รู้จักทำประโยชน์ให้สังคม พระเลยถูกตัดสินให้เป็นคนผิดทั้งขึ้นทั้งล่องจากสื่อมวลชน” เมื่อฟังพระผู้ใหญ่ท่านพูดในทำนองนี้ให้ฟังแล้วก็ได้คิดว่าการอ่าน ข่าวพระภิกษุที่ทำผิดพระวินัย ชาวพุทธต้องแยกแยะเรื่องส่วนบุคคลกับ ส่วนรวมออกจากกัน ถ้าหากไม่แยกแยะออกจากกันแล้ว ก็จะกลายเป็น คนที่ตัดสินใจโดยขาดการพิจารณา เข้าทำนองในอุปมาที่ว่า มองเห็นปลา เน่าตัวเดียวลอยน้ำมาเลยเหมาว่าปลาทั้งแม่น้ำเน่าเหมือนกันหมด ถ้าเป็น อย่างนี้ ก็จะได้บาปจากการทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ไม่ใช่ วิสัยของชาวพุทธอย่างแน่นอน เพราะชาวพุทธจะต้องมีความรอบคอบ สมดังที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ชัดเจนว่า “อย่าเชื่อโดยขาดการพิจารณา ให้รอบคอบ" นั่นเอง ประเด็นที่ ๓ คนที่เจริญในธรรมะได้ ต้องไม่จ้องจับผิดพระ แต่ ado en ๒๕๓ na
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More