การสนับสนุนพระสงฆ์และความเข้าใจในพระธรรม ครอบครัวอบอุ่น หน้า 185
หน้าที่ 185 / 198

สรุปเนื้อหา

บทสนทนาระหว่างโยมและหลวงพ่อเกี่ยวกับการนับถือพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน ที่มาพร้อมกับความคิดในเชิงบวกต่อการมองหาและสนับสนุนพระสงฆ์ที่ประพฤติดี พร้อมกับการชี้ให้เห็นว่าพระสงฆ์ก็เหมือนนักเรียนในสถาบันการศึกษา ที่ยังต้องเรียนรู้และมีข้อผิดพลาดบ้าง การจับผิดและการมองโลกในแง่ลบจะทำให้เราไม่สามารถเห็นความดีในพระสงฆ์ได้

หัวข้อประเด็น

-การสนับสนุนพระสงฆ์
-ความเข้าใจในพระธรรม
-การมองโลกในแง่ดี
-บทบาทของพระสงฆ์ในสังคม
-การเรียนรู้และการเติบโต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สนับสนุนการทํางานเผยแผ่ธรรมะของพระอย่างเต็มที่ สำหรับในประเด็นนี้ ขอยกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในชั่วโมง พระพุทธศาสนาที่มีหลวงพ่อรูปหนึ่งท่านอธิบายเรื่องนี้ไว้ได้ชัดเจนดังนี้ เรื่องมีอยู่ว่า มีโยมท่านหนึ่ง เนื่องจากอ่านข่าวพระทำผิดมามาก ก็เลยคิดว่าพระทั้งประเทศไทยนี้ แย่เหมือนกันหมด พอได้มาพบกับ หลวงพ่อท่าน ก็เลยน่าคำถามนี้มาถามว่า “พระเดี๋ยวนี้ทําตัวไม่น่ากราบ ไม่น่าไหว้ ไม่น่าเลื่อมใส ผมจะขอ นับถือแค่พระพุทธกับพระธรรม เลิกนับถือพระสงฆ์จะได้ไหมครับ ?” ค่าถามนี้เป็นค่าถามที่ละเอียดอ่อน มีผลกระทบในวงกว้าง และ ตอบยาก เพราะถ้าตอบไม่ดี ก็มีสิทธิทำให้นักศึกษาทั้งห้องพากันเลิก นับถือพระสงฆ์ทั้งประเทศได้เลยทีเดียว แต่หลวงพ่อท่านนั่งยิ้มๆ แล้วก็ตอบอย่างสบายๆ ว่า “การที่คนใดคนหนึ่งจะสามารถนับถือพระธรรมได้มีข้อแม้สำคัญ อยู่อย่างหนึ่งว่า ผู้นั้นจะต้องเป็นบุคคลประเภทที่ว่า ไม่ชอบจับผิดคนอื่น แต่พยายามแสวงหาความดีที่มีอยู่ในตัวของบุคคลอื่นให้พบตามความ เป็นจริง คำถามของคุณที่ถามว่า จะเลิกนับถือพระสงฆ์ จะเคารพแต่ พระพุทธกับพระธรรมเท่านั้นจะได้ไหม ตอบว่า ไม่ได้ เพราะที่คุณบอก ว่าพระสงฆ์ไม่ค่อยจะดีอย่างนั้นอย่างนี้ มันฟ้องว่า คุณเองมีนิสัยชอบ จับผิดคนอื่น ขาดความสังเกตที่ดี และสรุปอะไรง่ายเกินไป พระสงฆ์ทั่วเมืองไทยมีตั้ง ๒-๓ แสนรูป คุณเองรู้จักพระสงฆ์ สักกี่รูปเชียว อย่างมากอาตมาให้คุณสัก ๑,๐๐๐ รูป ถ้าคุณเห็นพระ สงฆ์ที่ไม่ดีมา ๑,๐๐๐ รูป แล้วอีกตั้ง ๓ แสนที่ดีๆ จะว่าอย่างไร ? คุณมีนิสัยจับผิดอย่างนี้ ชาตินี้หาพระดีๆ ไม่พบหรอก คุณปิด ใจจนใจบอดไปเอง หลวงพ่อคิดว่าคุณควรฝึกการมองเสียใหม่ มองเข้าไปในวัด แล้วทำใจให้เหมือนมองเข้าไปในสถาบันการ ศึกษาทางโลก คุณจะพบว่าในสถาบันการศึกษาทางโลกมีคนอยู่ ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ ๑ คือ นักเรียน ซึ่งเข้ามาศึกษาหาความรู้ ประเภทที่ ๒ คือ ครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้สอน นักเรียนที่เข้ามาหาความรู้ในสถาบันการศึกษา โอกาสที่เขาจะ ประพฤติผิด วางตัวไม่ถูกต้อง มีไหม? แน่นอน มีมากมาย แล้วเราถือสาหาความกับนักศึกษาเหล่านั้นหรือเปล่า? เปล่า เพราะเราถือว่า เขาเพิ่งก้าวเข้ามาศึกษาหาความรู้ จะทำความผิดพลาด ล่วงเกินอะไรไปบ้าง เราก็ให้อภัยกัน แต่ว่า ถ้าเป็นคนประเภทที่ ๒ ระดับครูบาอาจารย์ หากมีข้อ บกพร่อง เรามักล่าหนิกัน ในวัดวาอารามทุกแห่งในประเทศไทย ความจริงพระในวัดก็เหมือน คนในสถาบันการศึกษาทางโลก คือ พระก็มี ๒ ประเภท ประเภทที่ ๑ คือ พระนักเรียน ท่านเพิ่งเข้ามาหาความรู้ บางทีเพิ่งบวชได้วันสองวัน เดือนสอง เดือน ปีสองปี หรือพรรษาสองพรรษา เท่านั้น แน่นอน ท่านยังใหม่อยู่ ในธรรมวินัย เพราะฉะนั้นท่านก็มีข้อที่ประพฤติปฏิบัติผิดพลาดบ้าง นี้ เป็นธรรมดาก็เป็นพระนักเรียน จะเอาอะไรกันนักกันหนา ประเภทที่ ๒ คือ พระที่เป็นครูบาอาจารย์ ท่านเหล่านี้เป็นหลักของวัดอยู่ทุกวัดในเมืองไทย มีรวมกันเป็น nan ค add
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More