ฆราวาสธรรม ความสำคัญสำหรับครอบครัว ครอบครัวอบอุ่น หน้า 12
หน้าที่ 12 / 198

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักการฆราวาสธรรม 4 ข้อ ได้แก่ สัจจะ, ทมะ, ขันติ, และจาคะ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของครอบครัว เหล่านี้ช่วยสร้างความมั่นคงและอบอุ่นในครอบครัว ผ่านการมีความจริงใจ, ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน, การพูดและการกระทำที่ตรงกัน และการรักษาคุณธรรม ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและการเลือกคู่ครอง จำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การมีสัจจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีความเชื่อมั่นต่อกันและสร้างความรักและสามัคคีซึ่งกันและกัน

หัวข้อประเด็น

-ฆราวาสธรรม
-สัจจะและความรับผิดชอบ
-การสร้างครอบครัวมั่นคง
-บทบาทของสัจจะในครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ธรรมะหมวดหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็น หลักการวางรากฐานชีวิตและครอบครัวให้มั่นคง นั่นคือ “ฆราวาสธรรม” ซึ่งประกอบด้วย หลักการ ๔ ข้อ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ ทั้งสี่ข้อ นี้เป็น หัวใจครอบครัว ตามปกติ ถ้าหัวใจของเรายังเต้น เราก็ยังมีชีวิตต่อไป ถ้าตราบ ใดก็ตาม ที่สมาชิกแต่ละคนในครอบครัว ยังมีฆราวาสธรรมอยู่ประจำตัว หัวใจของครอบครัวก็ยังคงเต้นอยู่ ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้น อย่างแน่นอน มีแต่ครอบครัวที่มั่นคง อบอุ่น สามัคคีกันขึ้นทุกวัน ฆราวาสธรรมอันประกอบด้วยหัวใจครอบครัว ๔ ข้อนั้น มีความ สำคัญอย่างไรบ้าง และช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาประจำครอบครัวอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้ให้เห็นไว้ดังนี้ ๑) สัจจะ แก้ปัญหาความหวาดระแวงกันและกัน สัจจะ แปลว่า ความจริงใจ ความจริงจัง ตลอดจนความซื่อตรง ต่อกันและกัน ถ้าแปลอย่างนี้หลายคนอาจมองภาพไม่ชัด แต่ถ้าจะแปลเพื่อส่อง ให้เห็นแนวทางปฏิบัติได้ชัดๆ ก็ต้องแปลว่า สัจจะ คือ ความรับผิดชอบ หรือ นิสัยรับผิดชอบ เมื่อมองในแง่ของความเป็นครอบครัว นิสัยรับผิดชอบของแต่ละ คนถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งเพราะถ้าใครขาดนิสัยรับผิดชอบเมื่อไหร่ ความหวาดระแวงต่อกันจะเกิดขึ้นทันที ในทำนองเดียวกัน ถ้าหากใคร จะเลือกคู่ครองสิ่งแรกที่ต้องมองให้ชัดเจนก็คือ ความรับผิดชอบของคนๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย ต้องมองให้ออกว่าเขามีมากพอที่ จะรับผิดชอบความเป็นความตาย ความรุ่งเรือง ความล่มสลายของ ครอบครัวได้หรือไม่ Kont คนมีสัจจะย่อมแสดงความรับผิดชอบออกได้ ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านหน้าที่และการงาน คือ ไม่ว่าจะได้รับหน้าที่มากน้อยแค่ ไหน งานในแต่ละหน้าที่เหล่านั้น จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด และ สภาวะต่างๆ จะไม่เอื้ออำนวยขนาดไหน งบประมาณก็มีอยู่จำกัด กำลัง คนก็มีอยู่น้อยนิด เวลาก็กระชั้นชิด ความรู้ก็มีอยู่ไม่พอกับงาน แม้กระนั้น คนที่มีสัจจะย่อมจะตั้งใจขวนขวายรับผิดชอบด้วยการ “ทำงานชิ้นนั้นให้ สำเร็จให้ได้และให้ดีที่สุดด้วย ๒) ด้านค่าพูด คือ ต้องเป็นผู้ที่พูดอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น และ ทำอย่างไร ก็ต้องพูดอย่างนั้น ไม่ใช่ทำคืบมาโม้ว่าทำมากเป็นศอก หรือ ท่าศอกมาโม้ว่าท่ามากเป็นวา การกระทำจะต้องตรงกับคำพูดของตัวเอง เสมอไป ๓) ด้านการคบคน คือ คบค้าสมาคมกับใครด้วยความจริงใจ ไม่มีเหลี่ยมคู มีอะไรก็ว่ากันตรงๆ เตือนกันตรงๆ ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ใช้ความจริงใจแลกความจริงใจ ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ลำเอียง หรือไม่มีอคติ ๔ ประการ ได้แก่ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ไม่ลำเอียงเพราะฟัง ไม่ลำเอียง เพราะโง่ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๔) ด้านศีลธรรมความดี คือ ในเรื่องส่วนตัว ถือเอาหลักธรรม เป็นใหญ่ ไม่ยอมทำในสิ่งที่ผิดศีล ผิดธรรม ผิดประเพณี และผิด กฎหมายของบ้านเมือง จึงปิดคุกตาราง ปิดนรก และเปิดสวรรค์ให้ตัว เองได้อย่างสง่าผ่าเผย เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามนี้ คนที่มีสัจจะก็คือคนที่มีความรับ ผิดชอบ ทั้งต่อหน้าที่การงาน ต่อคำพูด ต่อคนที่คบด้วย และต่อคุณธรรม ซึ่งจะทําให้เป็นคนที่คิด พูด ทำสิ่งใด ก็มีความตั้งใจจริงในทุกสิ่งที่คิด พูด ทำนั้นให้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับความรู้ ความสามารถ และ ความดีของตนเองให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป uti ไ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More