ข้อความต้นฉบับในหน้า
คุณสมบัติหลัก ๓ ประการ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และใช้สำนวนง่ายๆ
พูดว่า
๑. ไม่แสบ (มาจากพระบริสุทธิคุณ)
๒. ไม่โง่ (มาจากพระปัญญาธิคุณ)
3.
ไม่แล้งน้ำใจ (มาจากพระมหากรุณาธิคุณ)
เด็กคนใดก็ตามที่มีคุณสมบัติ ๓ ข้อนี้ เรียกว่า “ลูกที่ดี” ซึ่งจะเป็น
เด็กที่มีความพร้อมต่อการจะรับถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ จากครูอาจารย์
ลุงป้าน้าอา นอกจากนี้ยังเป็นฐานรองรับการต่อยอดคุณธรรม อื่นๆ ให้
เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปได้ด้วย อุปมาเหมือนที่ดินดี นำพืชไร่ พืชสวนมาปลูก
ก็ย่อมได้ผลผลิตดีทั้งนั้น
บ่อเกิดนิสัยของลูกมาจากไหน
เมื่อพ่อแม่ทราบแล้วว่า คุณสมบัติของลูกที่ดีต้องไม่โง่ ไม่แสบ
ไม่แล้งน้ำใจ ก็มีคำถามขึ้นมาว่า แล้วจะเพาะคุณสมบัติเหล่านี้ขึ้นมาได้
อย่างไร
การเพาะคุณสมบัติ ก็คือ การเพาะนิสัย
นิสัย คือ ความคุ้น หรือพฤติกรรมประจำตัวของแต่ละคนที่เกิด
จากการคิด พูด ท่าบ่อยๆ อยู่เป็นปกติ แล้วมีผลต่อการเกิดความดีหรือ
ความชั่วในตัวคนเรา
ถ้าปล่อยให้ลูก คิด พูด ทำในสิ่งที่ผิดแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อยู่
บ่อยๆ ลูกจะเกิดความคุ้นกับการทำความผิดจนเป็นนิสัย และอาจ
ลุกลามให้กลายเป็นคนเลวได้ในอนาคต
ในทำนองเดียวกัน ถ้าฝึกให้ลูกคิด พูด ทำในสิ่งที่ดี แม้ในสิ่งเล็กๆ
น้อยๆ อยู่บ่อยๆ ลูกก็จะเกิดความคุ้นกับการทำสิ่งที่ถูกต้องจนเป็นนิสัย
การที่พ่อแม่จะเลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งและดีได้
ต้องมีสั่งสําคัญ ๒ ประการนี้ให้แก่ลูกอย่างต่อ
เนื่อง
๑) ความรู้ในการเลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งและดี
๒) เวลาสาหรับการสั่งสอน พี่กฝน-อบรม
ลูกให้เป็นคนเก่งและดี
และก็กลายเป็นคนดีได้ในอนาคต
สิ่งที่คนเราคิด พูด ทําซ้ำๆ บ่อยๆ มี ๓ เรื่อง คือ ๑) ปัจจัย ๔
๒) งาน ทํา และ ๓) กิจวัตรประจำวัน
กัน
ยกตัวอย่างเช่น นิสัยที่เกิดจากการใช้ปัจจัย ๔
เด็ก ๓ คน แม่ให้นมในเวลาที่ไม่เหมือนกัน ก็ได้นิสัยไม่เหมือน
เด็กคนแรก แม่ให้นมไม่เป็นเวลา พอเด็กหิว ไม่ได้กินต้องร้องไห้
เกรี้ยวกราด เด็กจึงได้นิสัยเจ้าโทสะ ต้องอาละวาดก่อนจึงจะได้กิน แล้ว
ก็ติดนิสัยว่าอยากได้อะไร ต้องประท้วง ต้องทำลาย เหมือนพ่อแม่ได้ ลูก
เสือมาเลี้ยงไว้
เด็กคนที่สอง แม่ให้นมตลอดเวลา แม้เด็กไม่หิวนมก็ไหลเข้าปาก
da
d