ข้อความต้นฉบับในหน้า
ให้สงบหนักแน่น เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังประสบทุกข์
และประสบสุขได้อย่างทันท่วงที
แต่เนื่องจาก ใจของคนเราส่วนใหญ่ไม่เหมือนแผ่นดิน แต่
เหมือนขี้ผึ้งลนไฟ มันอ่อนปวกเปียกๆ เครียดจึงได้ง่าย พอเจอความ
ทุกข์ที่ไม่ได้คาดหมาย ไม่ทันตั้งตัว ก็มักจะหมดอาลัยตายอยาก สร้าง
ทุกข์ซ้ำเติมตัวเองเข้าไปอีกสารพัด บางทีก็ประชดประชันชีวิตด้วยการทำ
ชีวิตตนเองให้แย่หนักลงไป ยิ่งเพิ่มความทุกข์ให้กับตัวเองเข้าไปอีก
คนที่ตกอยู่ในภาวะแบบนี้ ย่อมมีความรู้สึกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างใน
โลกนี้ มันดูสิ้นหวังไปหมด ความเครียด ความกลุ้มกลัด ความกดดัน
สารพัดต่างๆ ที่ตนเองสร้างขึ้นเองในจิตใจมันโหมกระหน่ำเข้ามาทุกทิศทาง
พาใจให้เกิดความทุกข์ทับถมเพิ่มขึ้นไปอีก บางคนถึงกับล้มป่วยอาเจียน
โลหิตออกมาเป็นชามๆ ก็มี และบางคนก็ถึงกับจับแง่คิดผิด ลงมือปลิด
ชีวิตตัวเองไปก็มี
ปู่ย่าตาทวดของเรา ท่านไม่อยากให้เราทำใจไม่ได้ในคราวที่เจอ
กับความไม่แน่นอนของชีวิตอย่างไม่ทันตั้งตัว ท่านจึงได้หาข้อคิดสารพัด
มาสอนให้เรารู้จักฝึกจิตใจให้เตรียมพร้อมกับการยอมรับความจริงที่เกิด
ขึ้นให้ได้ตลอดเวลา เพราะว่าทุกยุคทุกสมัยมาแล้ว สิ่งที่แน่นอนในโลกนี้
คือความไม่แน่นอน
ถ้าหากใครไม่หัดทําใจไว้ล่วงหน้า ไม่หัดมองสภาพความจริงของ
โลกใบนี้ให้ออก พอถึงคราวที่เจอความสูญเสียอย่างไม่คาดคิด จิตใจก็
จะอาจรับไม่ไหว ดังนั้น เราจึงต้องฝึกทำใจให้เหมือนแผ่นดินให้เป็นเสีย
แต่เนิ่นๆ ด้วยการพิจารณาความจริงที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้
สิ่งที่ต้องเตรียมใจก็คือ ถ้าความผิดหวังมาถึงเราแล้วอย่างไม่ทัน
ตั้งตัว ทำให้เกิดความตกใจ หวาดกลัว กลุ่มกลัด เราก็ต้องพิจารณาถึง
ความเป็นจริงในโลกนี้ว่าไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืนได้ตลอดกาล มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และเสื่อมไปเป็นธรรมดา แม้แต่ตัวเราเองนี้ ก็หนีความจริงนี้ไปไม่พ้น
ปู่ย่าตาทวดท่านชี้แนะหนทางปฏิบัติไว้ว่า คนที่จะทำใจให้หนัก
แน่นประดุจแผ่นดินได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า โลกมนุษย์ของเราใบนี้มีทั้ง
สมหวังและผิดหวังเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่ว่าสองสิ่งนี้อะไรจะมาถึง
เราก่อนหลังเท่านั้นเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่า สิ่งที่ทำให้คนเราสมหวังและ
ผิดหวังในโลกนี้ มีอยู่ 4 อย่าง เรียกว่า “โลกธรรม ๘” แบ่งเป็นสองฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งทำให้ “จิตไหว” และอีกฝ่ายหนึ่งทำให้ “จิตหวั่น”
จิตไหว คือ ความคิดปรารถนาอยากได้สิ่งที่รักและสิ่งที่ชอบใจ
มี ๔ อย่าง ได้แก่
๑) ลาภ คือการได้ผลประโยชน์ที่ชอบใจ เช่น ได้บ้าน ได้รถยนต์
ได้สามี-ภรรยา ได้ทีดิน ได้เพชรนิลจินดาต่างๆ
๒) ยศ คือการได้รับตำแหน่ง ฐานะ ได้อำนาจ ได้ความเป็นใหญ่
เป็นโต
๓) สรรเสริญ คือการได้ยินคำชื่นชม คำยกย่อง คำสดุดีที่คนอื่น
ให้เรา
๔) สุข คือได้รับความสบายกาย สบายใจ ได้รับความเบิกบาน
ร่าเริง ได้รับความบันเทิงใจ
ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปชอบ แม้ไม่มีก็คิดหา ครั้นหาได้
แล้วก็คิดหวง หวงมากๆ เข้าก็ห่วง ห่วงมากๆ เข้าก็หึง การที่จิตมีอาการ
หาหวงห่วง หึง อย่างนี้ เรียกว่า ใจไหว
จิตหวั่น คือ ความคิดหวาดหวั่นกังวลว่าตนเองจะสูญเสีย หรือ
go
ค