ข้อความต้นฉบับในหน้า
PE
มลายหายไป ไม่ใช่ตัวตนที่ยั่งยืนไปตลอดกาล
คนทั้งโลกมองไม่เห็นไตรลักษณ์ในสรรพสิ่ง จึงลุ่มหลงยินดียิน
ร้ายหวั่นไหวไปในโลกธรรม ๘ ประการ จึงต้องตกอยู่ในห้วงทุกข์ตลอด
เวลา
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น ทรงรู้ในความจริงของสรรพสิ่ง
ข้อนี้ดี จึงมาสอนให้ชาวโลกรู้จักการทำภาวนาให้ใจสงบนิ่งเหมือนแผ่น
ดินที่ไม่หวั่นไหวไปกับโลกธรรมทั้งปวง
เพราะฉะนั้น การที่ปู่ย่าตาทวดสอนให้เรารู้จักทำใจให้หนักแน่น
เหมือนแผ่นดินนั้น ก็เพราะท่านมองโลกและชีวิตมาถึงจุดของความเป็น
ไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง นี้เอง เพราะโลก
ธรรม ๘ ประการ ไม่ว่าเราจะได้หรือไม่ได้อย่างไรก็ตาม ตัวของเราเองก็
ต้องตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์อยู่ดี สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตเราก็คือ ต้องฝึก
ทำใจให้สงบพร้อมพบกับความไม่แน่นอนของชีวิตอยู่ตลอดเวลา เพราะ
เมื่อทำใจได้อย่างนี้แล้ว หากเกิดสิ่งใดที่ไม่คาดคิดขึ้นกับชีวิต ก็จะ
สามารถทําใจได้เป็น ทําสติกลับคืนมาได้เร็ว และสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไป
ได้ในโลกของความเป็นจริง เพราะทั้งสามี ภรรยา ลูกหลาน ล้วนตกอยู่
ในกฎไตรลักษณ์ที่มีความไม่แน่นอนเป็นความแน่นอนเช่นเดียวกับตัว
เราทั้งหมดนั่นเอง
คนที่มองเห็นความจริงของชีวิต และเพียรพยายามรักษาใจให้
หนักแน่นไม่หวั่นไหวในโลกธรรมได้ เหมือนแผ่นดินไม่สะทกสะท้านหวั่น
ไหวในของเหม็น และของหอมเช่นนี้ ย่อมสามารถยกระดับศีลธรรมใน
จิตใจให้สูงส่งขึ้นไปได้อีกมาก และนี่คือคาถาป้องกันการหย่าร้างเป็น
ชั้นที่ ๔
สรุป - การประคับประคองชีวิตแต่งงานไปให้ได้ตลอดรอดฝั่งนั้น
แท้จริงแล้วเป็นเรื่องของการยกระดับคุณธรรมของตนเองและทุกคนใน
ครอบครัวให้เพิ่มพูนไปด้วยกัน โดยต้องอาศัยองค์ประกอบ ๔ ประการ
ได้แก่
๑) ต้องพึ่งตนเองให้ได้ก่อน
๒) ต้องมีหลักการคัดเลือกคนมาเป็นคู่ชีวิต
๓) ต้องมีพี่เลี้ยงในการประคับประคองชีวิตคู่
๔) ต้องรู้จักขัดเกลาจิตใจให้งาม
ทั้ง ๔ ประการนี้ล้วนเป็นหลักการที่ปู่ย่าตาทวดให้ไว้เพื่อเป็น
แนวทางในการยกระดับคุณธรรมตนเองให้สูงขึ้นตามลำดับๆ เพราะการ
แต่งงานนั้น เมื่อตัดสินใจร่วมชีวิตเป็นคู่ครองกันแล้ว มีหน้าที่และการ
งานอีกมากรออยู่ข้างหน้า บางอย่างแม้ทนไม่ไหว ก็ต้องทนให้ไหว หาก
ยกระดับคุณธรรมในจิตใจให้รองรับหน้าที่การงานของชีวิตแต่งงานได้ไม่
พอแล้ว ก็ยากที่จะไปได้ตลอดรอดฝั่ง
ดังนั้น เมื่อชีวิตการแต่งงานก้าวมาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ชีวิตคู่ของ
คนสองคนจึงเหลืออยู่สองเรื่องหลักที่ต้องฝึกฝนกันต่อไป นั่นคือ อดทน
ต่อไปให้ได้ และทำใจให้สงบกับทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ครอบครัวใดก็ตามที่ทั้งสามีภรรยา หรือสมาชิกในวงศ์ตระกูลถือ
ปฏิบัติตามหลักธรรมตามที่ปู่ย่าตาทวดมอบให้เป็นข้อปฏิบัติร่วมกันอย่างนี้
การกระทบกระทั่งในครอบครัวและวงศ์ตระกูลก็จะไม่เกิดขึ้น ต่างคน
ต่างก็ยกระดับความดีในจิตใจให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ปัญหาการหย่าร้างย่อม
ถูกกำจัดไปในชีวิตสามีภรรยา ลูกย่อมมีที่พึ่งและต้นแบบทางจิตใจ
ความสามัคคีในบ้านก็จะมีมาก คุณภาพชีวิตทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ
ย่อมดีตามจิตใจที่งดงามไปด้วย และถ้าทุกครอบครัวในประเทศไทย
ทำได้เช่นนี้ย่อมส่งผลดีต่อคุณภาพของประชากรไทยในโลกนี้อย่างแน่นอน