ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภรรยาที่ดี การทำหน้าที่ลูกเขย-ลูกสะใภ้ที่ดี การทำหน้าที่พ่อแม่ต่อลูกที่
ดี การทำหน้าที่ญาติที่พึงปฏิบัติต่อญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายให้ดี การ
ทําหน้าที่ในด้านการงานอาชีพที่ดี และอีกสารพัดหน้าที่ที่ต้องมีจากการ
เข้าสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องมี “เฒ่าแก่” คอยแนะนำชี้แจงทิศทางให้ถูก
ต้อง ชีวิตครอบครัวจึงจะสงบสุขและอยู่ร่วมกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง
ดังนั้น การครองเรือนครองรัก ไม่สามารถขาด “เฒ่าแก่” คือ ผู้ใหญ่
ทีมีคุณธรรมสูง ดอยเป็นที่ปรึกษาแนะนำ และขัดเกลานิสัยใจคอของทั้ง
สองสามีภรรยาได้ ขาดเมื่อไหร่การประคับประคองครอบครัวจะผิดทิศ
ผิดทางเมื่อนั้น
ธรรมะที่ทำให้จิตใจจาม
หลังจากที่เราผ่านการทําความเข้าใจในองค์ประกอบทั้งสามข้อแรก
ไปแล้ว ชีวิตคู่ก็ก้าวมาถึงจุดที่ต้องยกระดับศีลธรรมในจิตใจให้สูงขึ้น
และหนักแน่นมั่นคง เพราะหากสามีภรรยาขาดหลักศีลธรรมในการอยู่
ร่วมกันแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ความรักที่มีต่อกันยั่งยืนยาวนานต่อ
ไปได้ เพราะหัวใจของครอบครัว ก็อยู่ที่ศีลธรรมที่เป็นหลักประจำใจของ
สองสามีภรรยานั่นเอง
เมื่อตอนก่อนแต่งงาน ก็เป็นช่วงที่เราฝึกตนเองให้เป็นคนที่พึ่ง
ตนเองได้ ปู่ย่าตาทวดได้นำเอาฆราวาสธรรมเป็นบทฝึกให้แก่เรา ครั้น
เมื่อแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ก็ยังต้องฝึกฆราวาสธรรมให้สูงส่งยิ่งขึ้นไป
คุณธรรมในข้อฆราวาสธรรมที่ใช้บ่อยที่สุดและมีผลต่อการประดับ
ประคองชีวิตคู่อย่างมากที่สุด ก็คือ “ขันติ” และ “จาคะ”
แต่ “ขันติ” ในเที่ยวหลังจากแต่งงานไปแล้วนี้ ก็เป็นการยกระดับ
ขันติที่เน้นหนักไปในเรื่องของความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง พูดง่ายๆ
คือ ต้องทนข้อเสียของคนอื่นให้ได้ เพราะสถานการณ์ที่ไปอยู่ร่วมกันหลัง
แต่งงานนั้น มีหน้าที่และการงานที่ต้องรับผิดชอบต่อคู่ครองและการ
สงเคราะห์ญาติพี่น้องข้างเคียงอีกมากที่ต้องดูแล ซึ่งต้องอดทนกับสาร
พัดคนที่อยู่ในตระกูลของทั้งสองฝ่ายให้ได้ การอดทนตรงนี้ถูกบังคับว่า
ต้องยกระดับความอดทนให้สูงขึ้นมามากกว่าก่อนหลายเท่านัก ถึงจะ
ประคับประคองตนเองและครอบครัวให้ผ่านไปได้
ส่วน “จาคะ” ก็เช่นกัน หลังจากแต่งงานไปแล้ว ก็เป็นการยกระดับ
จาคะให้แก่กล้ายิ่งขึ้น โดยที่เน้นหนักไปในเรื่อง ความสละอารมณ์บูดเน่า
ออกจากใจ ซึ่งก็คือการทำใจให้สงบ พูดง่ายๆ คือ ต้องขยันนั่งสมาธิ เพื่อ
กำจัดความขุ่นข้องหมองมัวที่เกิดจากการกระทบกระทั่งในครอบครัว
ออกไปให้หมดสิ้น เพราะถึงแม้เราจะไม่ชอบบางคนในครอบครัวของอีก
ฝ่ายหนึ่งนั้น แต่เราก็ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ อย่าปล่อยปละละเลยให้กลาย
เป็นการผูกโกรธกัน ต้องสลัดอารมณ์ทิ้งไป อย่าปล่อยไว้ข้ามชั่วโมง
เดี๋ยวจะกลายเป็นการลงมือลงไม้ ก่อเวร จองเวรกันไม่จบไม่สิ้น
จาคะในระดับของการกำจัดอารมณ์ที่เน่าบูดภายในจิตใจนี้มีศัพท์
ทางพระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างว่า โสรัจจะ แปลว่า ชำระใจให้สงบเสงี่ยม
ดังนั้น เมื่อเจาะจงลงไปในเรื่องของการขัดเกลาจิตใจโดยตรง ปู่ย่า
ตาทวดของเราจึงมักยกเอาเฉพาะ “ขันติ” กับ “โสรัจจะ" มาเป็นคู่ธรรมะ
สําหรับขัดเกลาจิตใจให้งาม เป็นการย่อความเรื่องฆราวาสธรรม ลงมา
เฉพาะในส่วนของการควบคุมจิตใจ
คนเรานั้น เมื่อตนต้องอดทนแล้ว ก็ต้องพยายามทำใจให้สงบด้วย
ความอดทนนั้นมีอาการในลักษณะเหมือนภูเขาไฟอัดอั้นไว้ข้างใน แม้ทน
แทบไม่ไหว แต่ก็ต้องทนให้ได้
ส่วนโสรัจจะเป็นการดับความครุกรุ่นพร้อมระเบิดของภูเขาไฟ
ภายในให้เย็นลง ด้วยการหาอุบายต่างๆ ที่จะมาสงบใจ ซึ่งไม่มีอุบายใด
mo
ค