พระพุทธเจ้ากับการใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต ครอบครัวอบอุ่น หน้า 189
หน้าที่ 189 / 198

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า โดยเน้นความสำคัญของการรักษาศีลและกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรศึกษานำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดปัญหา เราจำเป็นต้องพิจารณาตัวเองจากเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงตัวเองให้มีมาตรฐาน และวิธีการที่จะจัดการกับปัญหานั้นๆ เช่น การทำทาน หรือการขอโทษเพื่อคลี่คลายความเข้าใจผิด.

หัวข้อประเด็น

-การใช้ปัญญาในชีวิต
-การรักษาศีล
-กฎแห่งกรรม
-การแก้ไขปัญหา
-การฝึกตัวเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อชีวิตต้องพึ่งปัญญาเพื่อนำพาตนเองให้ผ่านชีวิตไปได้ตลอด รอดฝั่งทั้งยามทุกข์และยามสุขเช่นนี้แล้ว เราก็พบว่า ในโลกนี้ ไม่มีใครมี พระปัญญาแห่งการดำเนินชีวิตได้ยิ่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน พระปัญญาบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ทรงเปี่ยมด้วยหลักการเผชิญชีวิตที่ ถูกต้อง เป็นแนวทางการปฏิบัติทั้งในยามขาขึ้นและขาลงของชีวิตได้ อย่างยอดเยี่ยม และเป็นต้นแบบคำสอนของชาวโลกที่ชาวพุทธควร ศึกษาอย่างแท้จริง ความชื้น-ลงของชีวิตขึ้นอยู่กับอะไร มีคนจํานวนไม่น้อยที่ไม่ทราบความจริงว่า ความขึ้นลงของชีวิตมี สาเหตุมาจากอะไรกันแน่ บางคนก็เชื่อว่าดวงเดือนดวงดาวบนท้องฟ้า เป็นผู้กระทำ บางคนก็เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าบันดาล บางคนก็เชื่อว่าอยู่ที่ หนึ่งสมองสองมือของตัวเอง แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงว่า กฎเหล็กประจำโลกนี้ คือ กฎแห่งกรรม พระพุทธองค์จึงสั่งสอนว่า ใครทำกรรมใดไว้ ไม่ว่าดีหรือ ชั่วก็ตาม ตนจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมากับเราก็ตาม พระพุทธองค์ทรงให้ เราพิจารณาตัวเองจากสาเหตุ ๓ เรื่องนี้ คือ ๑. เกิดจากเราผิดศีลไว้ในปัจจุบัน ๒. เกิดจากการผิดศีลของเราในอดีต ต. เกิดจากความเป็นคนประมาท ไม่รอบคอบ ทั้ง ๓ ประเด็นนี้ เป็นประเด็นใหญ่ของการเผชิญกับปัญหาชีวิตของ เราที่เราเคยผิดพลาดเอาไว้ในอดีตทั้งที่ระลึกได้และระลึกไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิดปัญหารุนแรงอะไรขึ้นก็ตาม พระพุทธองค์จึงทรง สั่งไว้เลยว่า ห้ามเราสร้างปัญหาเพิ่ม นั่นก็คือ เราต้องรักษาศีลของเราให้ ดีที่สุด ถ้าเรายังต้องทำมาหากินเป็นผู้ครองเรือนอยู่ ศีล ๕ จะต้องไม่ให้ พลาด ถ้าเป็นพระภิกษุศีล ๒๒๗ จะต้องรักษาไว้ให้ดีเยี่ยม ถ้าเป็น อุบาสกอุบาสิกา หรือเป็นแม่ชี ศีล ๘ ของตัวเอง ต้องรักษาให้ดีเยี่ยม ครบบริบูรณ์เสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันว่า เราจะไม่ก่อปัญหาเพิ่ม พระพุทธองค์ทรงสอนอย่างนี้ ก็เพื่อให้เราปรับตัวของเราให้มี มาตรฐานก่อน ไม่อย่างนั้นพอปัญหารุมเร้า ตามมาอุดรูนี้แล้ว ก็จะต้อง ไปรั่วรูโน้น อุดรูโน้นมันก็จะไปรั่วรูต่อๆ ไป การแก้ปัญหาจะทำไปไม่ได้ ตลอดรอดฝั่ง แต่ว่าถ้าทันทีที่มีปัญหาเกิดขึ้นเรารีบปรับ ระดับความ ประพฤติของเราเสียก่อน การแก้ปัญหาต่างๆ จะง่ายเข้า เมื่อเรามีศีล ๕ ครบบริบูรณ์ดี จากนั้นก็ดูหลักหรือวิธีการแก้เป็นกรณีๆ ไป เช่น ถ้าเป็นเรื่องของ ทรัพย์สมบัติ หรือเรื่องของผลประโยชน์จะต้องแก้ด้วยทาน แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องของทรัพย์สมบัติ เป็นเรื่องของการกินใจกัน หรือ ความเข้า ใจผิดกัน อย่างนี้ต้องแก้ที่ตัวเราเอง คือต้องฝึกตัวให้เป็นคนมี สัมมาคารวะ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วย บางครั้งอาจจะต้องไป กราบกรานขอขมาลาโทษเขา มันก็ต้องยอมเพื่อให้ปัญหามันยุติ ดูต่อไปอีก บางเรื่องเกิดเพราะความประมาทของเราเอง ไปล่วง เกินเขา ไปทําของเขาเสียหาย ในกรณีอย่างนี้ก็แก้ไขโดยชดใช้เขาไปตาม สมควร แต่อย่างไรก็ตามทุกเรื่อง เมื่อเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว “ต้องหยุด” อย่า เพิ่งไปทำอะไร นั่งสมาธิให้ใจสงบเสียก่อนเพื่อดูให้ถ่องแท้ว่าเป็นเรื่องอะไร aplo wygry mba
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More