ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความสุจริตเป็นที่ตั้ง
ดังนั้น คนที่ตั้งใจทําความดี ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต ไม่ถือ
เนื้อถือตัวในการทําความดี ฝึกกายของตนให้ไม่มีเงื่อนไขในการทําความ
เหมือนผ้าเช็ดเท้าได้เช่นนี้ย่อมมีแต่ความสงบเย็นใจอยู่ภายใน เป็นความ
ภาคภูมิใจของคู่ชีวิตและเป็นบุคคลตัวอย่างของลูกหลานได้ นี่คือคาถา
ป้องกันการหย่าร้างเป็นชั้นที่ ๓
๔) ใจประดุจแผ่นดิน หมายถึง การรักษาใจให้หนักแน่นมั่นคง
ในการทำความดี โดยไม่มีข้อแม้เงื่อนไข และไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ
ทั้งสิ้น
ปู่ย่าตาทวดหยิบยกธรรมะข้อนี้ขึ้นมา ก็เพราะท่านซาบซึ้งใจดีว่า ใน
ชีวิตของคนเรา ทั้งๆ ที่ตั้งใจทำความดีอย่างสุดความรู้ความสามารถที่
ตนเองมีอยู่แต่ก็มีบางครั้งต้องเจอกับปัญหารุนแรงที่เกินกว่าจะอดทนไหว
แต่ก็ต้องอดทนไว้ให้ได้ พูดง่ายๆ คือ แม้ทนไม่ได้ ก็ต้องทนให้ได้
จากความจริงในข้อนี้เอง ไม่ว่าจะประสบกับสิ่งที่ชอบใจหรือไม่
ชอบใจก็ตาม เมื่อเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ต้องหัดทำใจให้สงบ ไม่หวั่นไหว
ไปกับความไม่แน่นอนของชีวิต รู้จักตั้งสติให้เป็น เหมือนอย่างกับแผ่น
ดินที่หนักแน่นไม่หวั่นไหวกับของหอมหรือของเหม็นที่ราดลงไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยตรัสถึงความสำคัญของการรักษาใจ
หนักแน่นมั่นคงเหมือนแผ่นดินกับพระราหุลว่า
“แผ่นดินนี้ ใครเอานํ้าหอมไปรดไปราดมัน มันดีใจไหม ไม่ดีใจ
มันก็เฉยๆ เอาของเหม็นไปรดไปราด มันก็ไม่ทุกข์ใจ มันเฉยๆ
“ราหุล...เธอทําใจให้ได้อย่างนั้นแหละ ใครมาทำอะไร เธอก็
อย่าไปเอาเรื่องเอาราวกับเขา ตั้งใจปฏิบัติธรรมของเธอไป แล้วเธอจะ
บุคคลที่ตั้งใจท่าความดี ประกอบอาชีพด้วย
ความสุจริต ท่ากายเหมือนผ้าเช็ดเท้าได้ จิตใจ
ย่อมมีแต่ความเจริญก้าวหน้า สงบเย็น ไม่อิจฉา
ริษยาใคร มีแต่คุณธรรมภายในที่สูงส่งยิ่งขึ้นไป
สามารถกลายเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูกหลานได้
อย่างยอดเยี่ยม
หมดกิเลสได้เร็ว”
นั่นก็หมายความว่า ยิ่งประสบทุกข์มากเท่าไหร่ ยิ่งต้องทำใจให้สงบ
หนักแน่น ถ้าเรามีจิตใจที่สงบ ทุกข์มากมายเพียงใดก็กัดกินจิตใจให้
ละลายลงไปไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน ยิ่งประสบสุขมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องทำใจให้สงบ
เช่นกัน อย่าดีใจจนเหลิงเดี่ยวจะกลายเป็นหลงลืมตัว คิดว่าวิเศษกว่า
ชาวบ้าน
เพราะฉะนั้น ในคราวทุกข์และคราวสุขมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องทำใจ
na