การพัฒนาจิตใจด้วยขันติและโสรัจจะ ครอบครัวอบอุ่น หน้า 24
หน้าที่ 24 / 198

สรุปเนื้อหา

การพัฒนาจิตใจให้สงบและงดงามสามารถทำได้ด้วยหลักธรรม "ขันติ" และ "โสรัจจะ" ซึ่งมีบทฝึกปฏิบัติเป็นคาถา 4 ประการ ได้แก่ ตาเหมือนตาไม้, หูเหมือนหูกระทะ, กายเหมือนผ้าเช็ดเท้า, ใจประดุจแผ่นดิน โดยเน้นให้เรามองสิ่งที่ดี ปล่อยวางความขุ่นมัวและเสริมสร้างศีลธรรมในใจ การนำอุปมาเรื่องพะองเข้ามาใช้เพื่ออธิบายพื้นฐานของการดูแลจิตใจให้สงบ เป็นการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในธรรมะผ่านความรู้และปฏิบัติ เพียงเชื่อมโยงกับบริบทชีวิต สามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นได้ และนำไปสู่ความสงบภายใน

หัวข้อประเด็น

-ธรรมะพื้นฐาน
-การพัฒนาจิตใจ
-ขันติและโสรัจจะ
-คาถาการฝึกอบรมจิตใจ
-การปล่อยวางความทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกินกว่าการตัดใจจากเรื่องราววุ่นวายด้วยการหลับตาทําภาวนา ปล่อยวาง ความขุ่นข้องหมองมัว ไม่คิด ไม่สนใจเรื่องกระทบกระทั่งที่ผ่านมา คนเรานั้น เมื่อใจสงบแล้ว ก็จะไม่รู้สึกต้องอดทนอะไร กิริยา วาจาที่แสดงออกมาก็ย่อมสงบเสงี่ยมตามไปด้วย เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครที่ได้เข้าใกล้ ก็จะมีความรู้สึกเย็นใจ เพราะสัมผัสได้ ถึงจิตใจที่งดงามด้วยความสงบเป็นปกติ ความสงบเย็นของใจที่แผ่ผ่าน ออกมาสู่ภายนอกนี้เอง ย่อมชนะใจทุกผู้คน ดังนั้น การยกระดับศีลธรรมในจิตใจให้สูงขึ้นได้ ต้องอาศัยคุณ ธรรมหลัก ๒ ประการนี้เป็นสำคัญก็คือ ขันติ กับ โสรัจจะ ซึ่งเรียกว่า ธรรม อันทําให้จิตใจงาม คาถาป้องกันการหย่าร้าง เมื่อเราศึกษามาถึงหัวข้อนี้ สิ่งที่ปู่ย่าตาทวดท่านมองต่อไป ก็คือ ทำ อย่างไร “ขันติ” กับ “โสรัจจะ" จะงอกเงยขึ้นมาในใจได้ ท่านจึงได้นำหลัก ธรรมชุดนี้มาบัญญัติเป็นคำอุปมาในภาคปฏิบัติไว้เป็นคาถา ๔ ประการ ดังนี้ คือ คาถาที่ ๑ ตาเหมือนตาไม้ คาถาที่ ๒ หูเหมือนหูกระทะ คาถาที่ ๓ กายเหมือนผ้าเช็ดเท้า คาถาที่ ๔ ใจประดุจแผ่นดิน การที่ปู่ย่าตาทวดท่านสามารถนำเอาสิ่งรอบตัวมาอธิบายเป็นธรรมะ เพื่อเป็นบทฝึกการทำจิตใจงามด้วยความสงบเย็นได้นี้ แสดงให้เห็นว่า ศีลธรรมในจิตใจของท่านมีความสูงส่งเหลือเกิน โดยท่านให้เหตุผลของ แต่ละอุปมาไว้ดังนี้ ๑) ตาเหมือนตาไม้ หมายถึง การเลือกดูแต่ในสิ่งที่ควรดู ไม่ดู ในสิ่งที่ทำให้ร้อนใจ ไม่คอยเอาตาไปสอดรู้สอดเห็น เพื่อจ้องจับผิด ความฉิบหายเดือดร้อนของผู้อื่น มานินทาลับหลังกันอย่างสนุกปาก เพราะจะพาให้ใจเก็บแต่เรื่องร้อนอกร้อนใจเต็มไปหมด และคิดสิ่งดีๆ มี ประโยชน์ต่อชีวิตไม่เป็น ปู่ย่าตาทวดท่านนำอุปมานี้มาจากการมองเห็น “พะอง พะอง คือ ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูกพาดขึ้นต้นไม้ต่างบันได ถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลาย ล่าผูกต่อๆ กันขึ้นไป ชาวบ้านที่อยู่ในดงตาล จะรู้จักประโยชน์ของพะองดีว่าสามารถ ใช้เป็นบันไดสำหรับขึ้นต้นตาลสูงๆ ได้ การท่าพะองนั้น ชาวบ้านจะตัดลำไม้ไผ่ยาวๆ มา แต่ไม่ริดตา ไม้ไผ่ออกไป จะตัดเฉพาะแขนงไม่ให้เหลือสั้นๆ ยาวสักคืบกว่าๆ ไว้ ตลอดทั้งสํา เพื่อใช้เป็นเหมือนขั้นบันไดเหยียบขึ้นไป ดังนั้น ตาไม้ไผ่จึง ต้องแข็งแรงมาก มิฉะนั้น ย่อมรับน้ำหนักคนปืนไม่ไหว เวลาชาวบ้านจะขึ้นต้นตาล ก็นำพะองวางพาดกับลำต้น แล้ว เหยียบแขนงขึ้นไปถึงยอดตาล ถ้าเป็นต้นตาลเพศผู้ที่กรีดงวงตาล ใช้ กระบอกไม้ไผ่รองน้ำหวานมาท่าน้ำตาลโตนด ถ้าเป็นต้นตาลเพศเมียก็ เก็บลูกตาล มาคั้นเอาน้ำลูกตาลผสมแป้ง ทำเป็นขนมตาลขายได้ ปู่ย่าตาทวดท่านมีใจที่จดจ่ออยู่ในธรรมะ ท่านจึงมองเห็นว่า หัวใจสำคัญของพะองอยู่ที่ตาไม้ไผ่ ยิ่งมีความทนทานอย่างดีเยี่ยมมาก เท่าไหร่ ความปลอดภัยในการปีนขึ้นไปเอาวัตถุดิบต่างๆ บนยอดตาลลง มาทำประโยชน์ก็มีมากเท่านั้น lo ค eel
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More