การเสียสละในชีวิตคู่และการสร้างครอบครัว ครอบครัวอบอุ่น หน้า 17
หน้าที่ 17 / 198

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเสียสละที่จำเป็นในชีวิตคู่และการเลี้ยงดูภรรยาและสามี ซึ่งการมีลูกต้องการเวลาและความพยายามทั้งสองฝ่าย การใช้ชีวิตแต่งงานจำเป็นต้องมีความเสียสละทั้งทางกายและจิตใจ การดูแลซึ่งกันและกันจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในครอบครัวและลดปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำหลักการฆราวาสธรรม ที่ช่วยในการสร้างรากฐานครอบครัวที่มั่นคง และลดปัญหาในครอบครัว

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการเสียสละ
-การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่
-หลักการฆราวาสธรรม
-การเลี้ยงดูในครอบครัว
-การสร้างความสุขในชีวิตคู่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ยิ่งกว่านั้น ก็คือ เมื่อถึงคราวให้กำเนิดลูกขึ้นมา ทั้งสามีและ ภรรยายิ่งต้องเสียสละต่อกันและกันเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะตรงนี้เป็นเรื่อง ของการให้เวลาลูก ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องเตรียมตัวมาแต่ก่อนแต่งงานแล้ว คนที่พร้อมจะเป็นพ่อแม่คน เขาจะพิจารณาตัวของเขาเองว่า เรา เองก็มีความรู้ ความสามารถ และความดีที่ได้จากการฝึกฝนตนเองมา ตลอดชีวิต เนื่องจากเราเองก็ต้องตาย ในยามแก่ชรา เราก็ต้องได้คน ดีมาดูแล ถ้าจะแต่งงานมีครอบครัว ก็ต้องเอาความรู้ ความสามารถ และความดีของเราที่มีมาสร้างทายาทดีๆ เกิดมาในโลกนี้ แล้วเราก็ ถ่ายทอดความรู้ ความดีให้แก่เขา เขาจะได้สามารถยืนหยัดอยู่ในโลกนี้ ได้ต่อไป การแต่งงานไม่ใช่มุ่งเรื่องความสุขทางเนื้อหนังมังสา ของพวกนี้ มันไม่จีรังยั่งยืน แต่เพราะส่วนมากมุ่งเอาความเอร็ดอร่อยทางเพศ ถึง ได้หย่าร้างกันเป็นว่าเล่น เพราะของพวกนี้มิได้เฉพาะในวัยหนุ่มสาว พื้นฐานการใช้ชีวิตหลังแต่งงาน ต้องอาศัยความเสียสละต่อกัน และกันอย่างมากๆ ถ้าเห็นแก่ตัวกันเมื่อไหร่ เดี๋ยวไต้ฆ่า ได้แกง ได้หย่า ร้างกันทุกที การเสียสละในฐานะคู่ชีวิตนี้ เป็นการเสียสละเพื่อการดูแลทั้งทาง กายและทางจิตใจ คือ เลี้ยงกายและเลี้ยงใจให้ดี แล้วชีวิตแต่งงานจะไม่มี ฆ่าแกงกัน เลี้ยงกาย คือ การใช้เงินทองในครอบครัว จึงจับจ่ายใช้สอยเพื่อ คนส่วนรวมในบ้านเป็นหลัก แบ่งปันกันกิน แบ่งปันกันใช้ เสียสละความ สุขสบายส่วนตัว เลี้ยงใจ คือ การรู้จักถนอมน้ำใจกันในยามปกติ รู้จักให้กำลังใจกัน ในยามเผชิญอุปสรรค รู้จักเตือนสติห้ามปรามกันในยามประมาท และมี ความซื่อสัตย์ต่อกันและกันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คู่ชีวิตที่เลี้ยงกายและเลี้ยงใจมาด้วยกันอย่างนี้ ย่อมมีแต่การเสีย สละเพื่อส่วนรวม ทั้งสละสิ่งของ สละความสะดวกสบาย สละอารมณ์ที่ บูดเน่า บรรยากาศที่ดีๆ ปรองดองสามัคคี จึงมีอยู่มากมายในครอบครัว ดังนั้น ครอบครัวจะมีรากฐานมั่นคงอยู่ได้ คนในบ้านจะต้องมี จาคะ เป็นนิสัยที่ ๔ จากฆราวาสธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ ใครก็ตามที่กำลังคิดจะมีคู่ครองกำลัง จะแต่งงาน กำลังสร้างครอบครัว หรือกำลังมีปัญหาครอบครัว ต้องยึดหลัก ฆราวาสธรรม คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เป็นหัวใจของครอบครัว เป็น หัวใจสําคัญที่สมาชิกในครอบครัวจะต้องมีอยู่ประจำตัว รากฐาน ครอบครัวจึงจะสามารถวางได้มั่นคงตั้งแต่เริ่มแรก แล้วปัญหาต่างๆ ใน ครอบครัว ทั้งปัญหาความหวาดระแวง ปัญหาความโง่เขลาไม่ทันโลก ทันคน ทันกิเลส ปัญหาความเบื่อหน่ายกันเอง ปัญหาความเห็นแก่ตัว ก็ จะไม่เกิดขึ้นในครอบครัวนี้อย่างแน่นอน หัวใจของครอบครัวย่อมยังคง เต้นอยู่ต่อไป บ eg
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More