ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพราะฉะนั้น สัจจะของเรานั้น สามารถดูออกได้จาก ๔ ด้านนี้
ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ย่อมแสดงว่าเขามีความรับผิดชอบมากเท่านั้น
เพราะคนประเภทนี้ เขามีหลักง่ายๆ ประจำใจอยู่เสมอว่า ไม่ว่าจะ
ทำอะไรก็ต้องทำให้ดีที่สุด พูดจาอะไรก็ชัดเจนที่สุด จิตใจก็มั่นคงในศีล
ธรรมที่สุด
คนมีสัจจะ ไม่เฉพาะคนในครอบครัวที่ไว้วางใจ แม้แต่พรรคพวก
เพื่อนฝูงก็ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจมาก ความหวาดระแวงที่อาจจะเคยมีมา
ก่อน ก็จะยิ่งลดน้อยถอยลงไปมากเท่านั้น
แต่ถ้าใครไม่มีสัจจะ ไปตรงไหนก็เจอความหวาดระแวง ความไม่
น่าเชื่อถือตรงนั้น คนดีๆ มีแต่คนหลีกหนีไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยาก
คบค้าสมาคมด้วย เพราะกลัวว่าจะพลอยทำให้เขาเสียชื่อเสียงไปด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าคนในครอบครัวไม่มีสัจจะ หรือไม่มีนิสัยรับผิด
ชอบต่อหน้าที่การงาน ต่อคำพูด ต่อบุคคล และต่อศีลธรรมความดี
ปัญหาความหวาดระแวงจึงได้เกิดขึ้นมา แล้วจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร
ดังนั้น ครอบครัวจะมีรากฐานมั่นคงอยู่ได้ คนในบ้านจะต้องมีสัจจะ
เป็นนิสัยที่ ๑
๒) ทมะ แก้ปัญหาความโง่เขลา ไม่ทันคน ทันโลก ทันกิเลส
ทมะ แปลว่า รู้จักข่มจิตข่มใจตัวเอง
ในทางปฏิบัติ ทมะ หมายถึง ความกระตือรือร้นในการเคี่ยวเข็ญ
ฝึกตนเอง อย่างไม่มีข้อแม้เงื่อนไข เพื่อให้ตนเองมีทั้งความรู้ ความ
สามารถ และความดีเพิ่มพูนมากขึ้นทุกวันๆ
ทมะ อาจแปลอีกอย่างเป็นภาษาชาวบ้านพื้นๆ ง่ายๆ ว่า รักการ
ฝึกฝนตัวเอง ซึ่งบางทีปู่ย่าตาทวดท่านถึงกับใช้คำว่า อย่าปล่อยให้ตัวเอง
โ
วิธีการที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และความดีในเรื่องใดๆ
ก็ตาม มีการปฏิบัติอยู่ ๔ ขั้นตอน คือ
๑) ต้องหาครูดีให้เจอ คือ ไม่ว่าใครจะสนใจหรือเพิ่มพูนความ
รู้เรื่องอะไรให้ตัวเองก็ตาม ผู้นั้นจะต้องหาคนที่มีความรู้ความสามารถใน
ด้านนั้นๆ มาเป็นครูให้ได้ก่อน มิฉะนั้น โอกาสที่จะทำล้มเหลวมีมาก
หากหาไม่ได้จริง อย่างน้อยที่สุด ก็ต้องเป็นผู้ที่รู้ในเรื่องเหล่านี้มากที่สุด
ในภาวะนั้น
๒) ต้องฟังคำครู คือ ต้องตั้งใจฟังแล้วฟังอีก ถามแล้วถามอีก
จนกระทั่งจับประเด็นได้ว่า สิ่งที่ครูสอนนั้น ทั้งหลักการ และวิธีการมี
อะไรบ้างอย่างชัดเจน มีความลุ่มลึกขนาดไหน
๓) ต้องตรองตามคำครู คือ นำแต่ละประเด็นที่ครูอธิบายแล้ว
อธิบายอีกอย่างดีแล้วมาพิจารณาให้เข้าใจเหตุผลทั้งในแง่ของความสำคัญ
การใช้งาน ข้อควรระวัง และผลได้ผลเสียที่จะตามมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
๔) ต้องทำตามคำครู คือ หลังจากที่พิจารณาคำครูได้เข้าใจ
ดีแล้ว ว่าที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างไร ก็ลงมือปฏิบัติตามด้วย
ความมีสติรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทพลั้งเผลอจนอาจลงไปสู่การ
เกิดความเสียหายล้มเหลวในบั้นปลายได้
คนที่จะมีความรู้ ความสามารถ ความดีได้เต็มที่ ต้องอาศัยวิธี
การนี้เท่านั้น ในการฝึกฝนตนเองให้ทันโลก ทันคน ทันกิเลส
แต่แน่นอนว่า การที่จะทำได้อย่างนี้ ต้องทนฝืนใจ ข่มใจ และ
บางครั้งเจ็บเข้าไปในใจเหมือนเลือดไหลซิบๆ ออกมา
สาเหตุที่ต้องทนฝืนใจ ข่มใจ ก็เพราะการฝึกใดๆ ถ้าไม่สามารถ
เปลี่ยนนิสัย ไม่ชื่อว่าเป็นการฝึกตัว
ยกตัวอย่างเช่น แต่จะแก้นิสัยชอบกินจุบกินจิบ มันก็ไม่ใช่ง่าย
mo
o
Kont
ค