ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากการขาดการรวมใจในแต่ละวันนี่เอง
ในกรณีของครอบครัวเดี่ยวที่ยังไม่มีการรวมใจ พ่อแม่ก็คงจะ
ต้องหันหน้าเข้าหากันและกลับมาตั้งหลักกันว่า เราจะปล่อยให้บ้านมี
สภาพขาดการรวมใจอย่างนี้ต่อไป เพื่อรอให้เกิดสภาพต่างคนต่างอยู่
หรือว่าจะเริ่มสร้างกิจวัตรการรวมใจในครอบครัว ด้วยการฝึกลูกให้
กราบขอพรพ่อแม่ก่อนเข้านอนเป็นประจำตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งในตอนเริ่มต้น
คุณแม่อาจจะต้องฝ่ายเริ่มต้นนำลูกกราบขอพรคุณพ่อก่อนในฐานะที่พ่อ
เป็นหัวหน้าครอบครัว หลังจากนั้นเมื่อคุณพ่อให้พรลูกเสร็จแล้ว จึงค่อย
บอกให้ลูกกราบขอพรคุณแม่บ้าง ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนให้ทุกคนมี
ความก้าวหน้า อะไรทำนองนี้เป็นต้น
ถ้าหากพ่อแม่ตัดสินใจจะวางกิจวัตรประจําบ้านไว้อย่างนี้ ก็
เท่ากับเป็นการวางหลักประกันความอบอุ่นผูกพันในครอบครัวไว้อย่าง
แน่นหนาว่าบ้านจะไม่ขาดการรวมใจ ส่วนในยามบั้นปลายชีวิตก็จะมี
หลักประกันว่า ลูกหลานจะไม่ปล่อยให้หงอยเหงาเดียวดาย เพราะได้ฝึก
ลูกหลานให้คุ้นเคยกับการเข้าหาผู้ใหญ่มาตั้งแต่เล็กแล้ว และทุกครั้งที่
เข้ามาหาพ่อแม่ เขาก็จะมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับแต่สิ่งดีๆ จากผู้ใหญ่
เสมอนั่นเอง
ความประเสริฐเกิดขึ้นในตัวได้อย่างไร
เมื่อเราทราบว่า การให้พรคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรแล้ว
ก็มีประเด็นที่น่าสนใจต่อมาอีกว่า ความประเสริฐเกิดขึ้นในตัวของผู้ให้พร
ได้อย่างไร
จากการค้นคว้าทำให้พบว่า ตามหลักการในพระพุทธศาสนา “ใจ”
ของมนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่น คือ
๑) ใจสามารถฝึกให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปได้
๒) ใจสามารถขจัดความไม่ดีออกไปได้
๓) ใจสามารถสั่งสมความบริสุทธิ์ไว้ได้
ด้วยลักษณะพิเศษนี้เอง ถ้าใจของมนุษย์สะสมแต่ความดี ก็
เป็นใจที่ดีได้ แต่ถ้าสะสมแต่ความชั่ว ก็กลายเป็นใจที่ชั่วได้
แต่เนื่องจากในใจของคนเรานี้ ไม่ได้มีแต่ความชั่วล้วนๆ จน
กระทั่งหาความดีไม่ได้ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงตกนรกหมกไหม้ไปแล้ว
ในทำนองเดียวกัน ใจของคนเรา ก็ไม่ได้มีแต่ความล้วนๆ จน
กระทั่งไม่มีความชั่วปนอยู่เลย เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงเป็นพระ
อรหันต์เหาะไปแล้ว
แต่เพราะในตัวของคนเรานี้ มีทั้งความดีและความชั่วปนอยู่ในตัว
จึงต้องหาทางแก้ไขส่วนไม่ดีให้หมดไป แล้วก็พยายามเพิ่มส่วนที่ดีให้มี
มากขึ้น ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
ตัวการที่สร้างความไม่ประเสริฐให้แก่ตัวคนเรานั้น เรียกว่า “กิเลส
มีอยู่ ๓ พวก คือ
๑. ความโลภ คือ ความเห็นแก่ตัว ความอยากได้ไม่รู้จักพอ
ความตระหนี่ถี่เหนียว ไม่อยากแบ่งปันให้ใคร
เช่น ผู้ใหญ่คนไหน โลกจัดอยากได้ของคนอื่นอยู่เรื่อยไป ลูก
หลานก็คงสั่นหน้าบอกว่าไม่อยากเข้าใกล้ หรือว่าถ้าเด็กคนไหน เห็นแก่
ตัวจัด เป็นหัวขโมย อยากได้ของคนอื่นอยู่เรื่อยไป ผู้ใหญ่ก็คงไม่อยาก
ให้เด็กคนนั้นเข้าบ้าน
๒. ความโกรธ คือ ความถูกขัดใจ แล้วอยากทำลายให้สิ้นซาก
เช่น ผู้ใหญ่คนไหน ขี้หงุดหงิด โกรธง่าย ลูกหลานก็ไม่อยากเข้า
ใกล้ หรือถ้าเด็กคนไหน เจ้าโทสะ ระเบิดอารมณ์อยู่บ่อยๆ ผู้ใหญ่ก็ไม่อยาก
maiol
nam!