การดูแลผู้ป่วยหนักอย่างมีสติ ครอบครัวอบอุ่น หน้า 83
หน้าที่ 83 / 198

สรุปเนื้อหา

การดูแลผู้ป่วยหนักต้องแบ่งเป็นการดูแลร่างกายและการดูแลจิตใจ การมีแพทย์ที่มีความรู้เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการรักษาสติของผู้ป่วยก่อนที่พวกเขาจะจากไป สิ่งสำคัญคือการรักษาความผ่องใสของจิตใจเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรค การดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนรอบข้างจะช่วยให้พวกเขามีสติที่ดีในช่วงเวลาก่อนตาย และผลลัพธ์ของการรักษาจะขึ้นอยู่กับสภาพใจในเวลานั้น เช่นกันกับการเกิดใหม่ในภพสุคติหรือทุคติ สำนักใจชนะใจดูแลผู้ป่วยสามารถช่วยในการรักษาชีวิตอย่างมีความหมาย.

หัวข้อประเด็น

-การดูแลผู้ป่วยหนัก
-การดูแลใจคนไข้
-ความสำคัญของสติ
-การรักษาความหวัง
-ผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ป่วย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ญาติหรือคนรักป่วยหนักไว้บ้าง เพื่อตัวของเราเอง ข้อดีของการศึกษาวิธีดูแลผู้ป่วยหนักที่ใกล้จะละโลกไว้บ้างเช่นนี้ ย่อมทำให้เราปฏิบัติได้ถูกในการดูแลรักษาจิตใจญาติหรือผู้มีพระคุณ ที่ กำลังต่อสู้กับความเจ็บปวดในยามใกล้ละโลก รวมทั้งถ้าหากวันนั้นมาถึง ตัวเราบ้าง เราก็จะเตรียมตัวรับมือกับอาการต่างๆ ก่อนละโลกได้ถูกต้อง และต้องเตรียมฝึกลูกหลานให้รู้จักวิธีดูแลเราอย่างถูกวิธีด้วย เมื่อญาติหรือคนรักป่วยหนัก ควรดูแลอย่างไร ? สำหรับเรื่องการดูแลคนไข้ เราต้องแบ่งเป็น ๒ เรื่องด้วยกัน คือ ๑. การดูแลรักษาโรคทางกาย การดูแลทางกายนี้ ต้องพยายามหาแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ดีที่สุด มาให้การดูแลรักษาให้เต็มที่ เท่าที่ฐานะและสภาพแวดล้อมจะ อ้านวยให้ ๒. การดูแลรักษาใจคนไข้ ในกรณีผู้ป่วยหนัก มีอาการเป็นตายเท่ากัน ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการให้สติคนไข้ หากผู้ป่วยมีอาการหนักมาก การจะละโลกไป สุคติ หรือทุคติ ก็ขึ้นอยู่กับสติก่อนตายนี้เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “เมื่อจิตก่อนตายเศร้าหมอง ย่อมมีทุคติเป็นที่ไป แต่ถ้าจิตก่อน ตายผ่องใส ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป สุคติเป็นที่ไปคืออะไร ? ก็คือ การลาโลกไปแล้วได้เกิดในมนุษย โลก เทวโลก พรหมโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “เมื่อจิตก่อนตายเศร้าหมอง ย่อมมีทุคติเป็น ที่ไป แต่ถ้าจิตก่อนตายพ่องใส ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป ทุคติเป็นที่ไปคืออะไร ? ก็คือ การลาโลกไปแล้วได้เกิดในนรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ และสัตว์เดรัจฉานภูมิ สุคติ และ ทุคติ นี้ คือสถานที่ที่ผู้ตายจะต้องมารับผลแห่งกรรมที่ ตนทำไว้เมื่อยังเป็นมนุษย์โดยตัดสินด้วยสภาพของใจก่อนละโลกว่า “เศร้า หมอง" หรือ "ผ่องใส" ซึ่งพระท่านเรียกว่า “ศึกชิงภพ” คือช่วงชิงกัน ระหว่างสุคติภพกับทุคติภพ ดังนั้น ไม่ว่าผลลัพธ์ของการรักษาคนไข้จะเป็นอย่างไรก็ตาม ผู้ที่ ดูแลใกล้ชิดทุกคน ก็มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ด้วยหลักการนี้ คือ “คนใกล้ชิดจะต้องช่วยกันประคองรักษาใจของคนไข้ ให้ผ่องใส ตลอดเวลา จะได้มีกำลังใจที่จะอยู่ผจญกับความร้ายแรงของโรค ไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย หรือสิ้นหวังในชีวิตเสียก่อน" ado ค ada
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More